Home งานวิจัย/ความรู้ งานวิจัยด้านทรัพยากรน้ำและอากาศ การพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน(UAV) เพื่อการสำรวจ และจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อติดตาม และประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ปี 2556
การพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน(UAV) เพื่อการสำรวจ และจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อติดตาม และประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ปี 2556
 

     การพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน(UAV) เพื่อการสำรวจ

และจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อติดตาม

และประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ปี 2556

Development of Unmanned Aerial Vehicle (UAV) for aerial surveying and photography for the assessment of flood in the Eastern part of Thailand 2013

วาสุกรี แซ่เตีย1ชวิน กันยาวรารักษ์2 ปิยมาลย์ ศรีสมพร3สุรเจตส์บุญญาอรุณเนตร4

1,2,3,4 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) 108 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น 8 ถ.รางน้ำ

แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

 

บทคัดย่อ 
จากอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ทำให้อากาศยานไร้นักบิน Unmanned Aerial Vehicle (UAV) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบินสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย เนื่องจากสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้รวดเร็ว การสำรวจสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้าง ช่วยให้การประเมินสถานการณ์ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในการควบคุมอากาศยานไร้นักบิน สามารถควบคุมด้วย remote control จากนักบินที่ภาคพื้นดินหรือควบคุมด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ (Autopilot) และยังมีระบบควบคุมและติดตามการบินจากภาคพื้นดินคอยติดตามการทำงานพร้อมทั้งรับสัญญาณภาพถ่ายในขณะทำการสำรวจ องค์ประกอบสำคัญ คือ กล้องที่มีความละเอียดสูงสามารถบันทึกภาพได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว และระบบการควบคุมการบินอัตโนมัติ ประกอบด้วย อุปกรณ์นำร่อง Global Positioning System (GPS) ระบบควบคุมการทรงตัว Inertial Measurement Unit (IMU) และเซนเซอร์วัดความสูง Absolute pressure sensor จากนั้นภาพถ่ายทางอากาศและพิกัดที่ได้รับการบันทึกจะถูกนำมาผ่านขั้นตอนGeo-referencing สำหรับจัดวางภาพถ่ายให้มีความถูกต้องและจัดทำภาพแผนที่น้ำท่วม เพื่อเปรียบเทียบขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมในแต่ละช่วงเวลาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการประเมินสถานการณ์และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำในยามเกิดอุทกภัย บทความนี้นำเสนอการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการถ่ายภาพทางอากาศ โดยใช้สถานการณ์น้ำท่วมภาคตะวันออกปี 2556 เป็นกรณีศึกษา เพื่อนำกระบวนการและเทคนิคการถ่ายภาพที่ได้จากศึกษานี้มาใช้พัฒนาระบบอากาศยานและการสำรวจและจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต 



 Abstract
From the severe flooding in 2011 the use of unmanned aerial vehicle (UAV) has become an important role in flood surveying. With its capabilities to a quick access to the flooded area, cover a large spatial resolution, the flooding situation can be more efficiently assessed. The UAV can be controlled either manually with a remote control from a ground pilot or use an automatic application of autopilot. With a control and telemetry system, the flight path of UAV and the aerial photograph can be monitored continuously during the survey. Important components are a high resolution camera that can record both still images and moving video, and the controlling system which comprise of Global Positioning System (GPS), Inertial Measurement Unit (IMU) and an Absolute pressure sensor. The data acquired from these instruments can be further processed and analyzed using geo-referencing techniques to mosaic the aerial photographs with a correct coordinate and produce a flood overlay aerial photo. This paper describes the process of applying aerial photographs taken from the UAV to produce anaerial flood photo. The case study is the recent flooding situation in the Eastern part of Thailand in 2013. Process and aerial photo acquiring techniques found in this study will be a stepping-stone for the development of unmanned aerial vehicle for aerial surveying in future.
Attachments:
Download this file (UAV.pdf)UAV.pdf[ ]1305 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 มกราคม 2015 เวลา 14:42 น.
 
Home งานวิจัย/ความรู้ งานวิจัยด้านทรัพยากรน้ำและอากาศ การพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน(UAV) เพื่อการสำรวจ และจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อติดตาม และประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ปี 2556