ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่
ที่มา : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


อิทธิพลจากพายุโซนร้อน "โนอึล" (NOUL) ที่ส่งผลกระทบโดยตรงทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งยังส่งผลโดยอ้อมทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ รวมถึงภาคใต้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกเขื่อน แต่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจนถึงเกณฑ์น้ำมากมีเพียง 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง และเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (ปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า 80% ของความจุเขื่อน) ส่วนเขื่อนอื่นที่ถึงแม้จะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นมาก แต่เนื่องจากก่อนหน้านั้น ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเขื่อนมีค่อนข้างน้อย ทำให้มีที่

ว่างสำหรับกักเก็บน้ำได้มาก ซึ่งในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากพายุระหว่างวันที่ 17-25 กันยายน 2563 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทั้งหมด 8 เขื่อน ประกอบด้วย 1) เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุด 338 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 301 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากเป็นอันดับที่ 2 3) เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 292 ล้านลูกบาศก์เมตร 4) เขื่อนศรีนครินทร์ 5) เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเท่ากัน เขื่อนละ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร 6) เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 230 ล้านลูกบาศก์เมตร 7) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 226 ล้านลูกบาศก์เมตร 8) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 115 ล้านลูกบาศก์เมตร และถึงแม้พายุ “โนอึล” จะทำให้

มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่กลับมีหลายเขื่อนที่ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงมีน้อย จากรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนของกรมชลประทานเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 มีอยู่ 10 เขื่อน ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต (ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือน้อยกว่า 30% ของความจุเขื่อน) ประกอบด้วย 1) เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง 2) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 3) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี 4) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี 5) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 6) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 7) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา 8) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 9) เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี 10) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา



ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมในช่วงวันที่ 17-25 กันยายน 2563


ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนวันที่ 25 กันยายน 2563


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายวัน


อิทธิพลของพายุ "โนอึล" ส่งผลทำให้เขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณน้ำไหลลงเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องหลายวัน โดยเขื่อนสิรินธรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพายุมีน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงสุดถึง 90 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในวันที่ 19 กันยายน

2563 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงสุด 66 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 22 กันยายน 2563 เขื่อนภูมิพล 48 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 23 กันยายน 2563 เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำไหลลงมากที่สุดในวันที่ 21

กันยายน 2563 ปริมาณน้ำ 53 และ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ รายละเอียดเพิ่มเติมตามกราฟด้านล่าง


เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์
เขื่อนภูมิพล จ.ตาก


ข้อมูลเพิ่มเติม : คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ www.thaiwater.net