อิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) เริ่มส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2563 ในขณะที่พายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ หลังจากนั้นพายุได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดมุกดาหารในช่วงบ่ายของวันที่ 18 กันยายน 2563 ก่อนเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดร้อยเอ็ดในขณะที่ยังเป็นพายุโซนร้อน ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน 2563 เวลาประมาณ 01.00 น. พายุดังกล่าวได้ลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณจังหวัดขอนแก่น ก่อนเคลื่อน
ตัวไปยังบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในเวลาประมาณ 07.00 น. แล้วสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งหลังจากพายุสลายตัวไปได้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ต่อเนื่องออกไปอีก นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่พายุเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทยได้ส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นด้วยทำให้ด้านตะวันตกของประเทศรวม
ถึงภาคใต้และภาคตะวันออกมีฝนตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงวันที่ 17-20 กันยายน 2563 ประกอบด้วย ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงราย พิจิตร กำแพงเพชร ตาก เชียงใหม่และแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดสุรินทร์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมาและชัยภูมิ ภาคกลาง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรีและสระบุรี ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด นครนายก สระแก้วและปราจีนบุรี ภาคใต้ บริเวณจังหวัดระนอง ตรังและชุมพร
Tropical Storm “NOUL” had begun to influence heavy rains in parts of the northeast region since September 17, 2020, as it continued to move in the South China Sea. Later the storm made landfall in Da Nang, Vietnam and moved through Laos into Thailand at Mukdahan Province in the afternoon of September 18, 2020. After that, it moved through Amnat Charoen and Roi Et provinces while still being a tropical storm. On September 19, 2020 at approximately 1:00 a.m. the storm had reduced to a depression in Khon Kaen Province before moving to Phetchabun Province around 7:00 a.m. It dissipated into
a low-pressure cell covering Phitsanulok Province and nearby areas in the afternoon of the same day. This situation resulted in heavy to very heavy rains in many areas of the northeast, north, and central regions. After the storm had dissipated, a monsoon trough laid across the north and northeast regions causing continuously heavy rain in some areas. Moreover, during the storm approaching Thailand, it made the southwest monsoon intensify, resulting in more rainfall in the west of the country, including the south and the east regions. Provinces that had very heavy rain with rainfall volume exceeding 90 millimeters per
day during September 17-20, 2020 were provinces in the north region such as Phetchabun, Chiang Rai, Phichit, Kamphaeng Phet, Tak, Chiang Mai and Phrae, provinces in the northeast region such as Surin, Ubon Ratchathani, Buri Ram, Si Sa Ket, Yasothon, Nakhon Ratchasima and Chaiyaphum, provinces in the central region such as Nakhon Sawan, Lop Buri and Saraburi, provinces in the east region such as Chanthaburi, Trat, Nakhon Nayok, Sa Kaeo and Prachin Buri, and provinces in the south region such as Ranong, Trang and Chumphon.
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 เวลา 06.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสถานการณ์ภัยจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ที่ส่งผลทําให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน
น้ำไหลหลาก วาตภัย และดินสไลด์ ในช่วงวันที่ 18-22 กันยายน 2563 ซึ่งมีจังหวัดที่ประสบภัยทั้งสิ้น 29 จังหวัด ประกอบด้วย ลําปาง แพร่ ลําพูน ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร เลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ลพบุรี
ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล รวม 121 อำเภอ 236 ตำบล 439 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,141 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่ จ.ระนอง และผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ที่ จ.เพชรบูรณ์
Department of Disaster Prevention and Mitigation reported on September 22, 2020 at 6:00 a.m. about the disaster from the influence of the tropical storm “NOUL” and the southwest monsoon that prevailed over the Andaman Sea, Thailand and the Gulf. This caused flash floods, inundation, windstorms and landslides during
September 18-22, 2020 in 29 provinces including Lampang, Phrae, Lamphun, Tak, Phetchabun, Phichit, Loei, Udon Thani, Khon Kaen, Chaiyaphum, Mukdahan, Ubon Ratchathani, Roi Et, Maha Sarakham, Surin, Buri Ram, Si Sa Ket, Nakhon Ratchasima, Lop Buri, Prachin Buri, Chanthaburi, Trat, Chumphon, Ranong, Phang Nga, Phuket,
Krabi, Trang and Satun totaling 121 districts, 236 sub-districts, 439 villages and 1 municipality. A total of 2,141 households were affected, with 1 death in Ranong Province and 2 people injured in Phetchabun Province.
สถานการณ์ฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากพายุระหว่างวันที่ 17-25 กันยายน 2563 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทั้งหมด 8 เขื่อน ประกอบด้วย 1) เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุด 338 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 301 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากเป็นอันดับที่ 2 3) เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 292 ล้านลูกบาศก์เมตร 4) เขื่อนศรีนครินทร์ 5) เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี มี
ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเท่ากัน เขื่อนละ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร 6) เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 230 ล้านลูกบาศก์เมตร 7) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 226 ล้านลูกบาศก์เมตร 8) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 115 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงแม้พายุ “โนอึล” จะทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจนถึงเกณฑ์น้ำมาก (ปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า 80% ของความจุเขื่อน) มีเพียง 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง และเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก แต่กลับมีหลายเขื่อนที่ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงมีน้อย จากรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนของกรมชลประทาน
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 มีอยู่ 10 เขื่อน ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต (ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือน้อยกว่า 30% ของความจุเขื่อน) ประกอบด้วย 1) เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง 2) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 3) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี 4) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี 5) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 6) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 7) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา 8) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 9) เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี 10) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา
The heavy rains from the influence of the Tropical Storm “NOUL” increased the inflow volume of large dams in the affected areas. During September 17-25, 2020, there were 8 dams with accumulated inflow higher than 100 million cubic meters (mcm) : 1) Sirikit Dam in Uttaradit Province, with the highest water inflow of 338 mcm, 2) Bhumibol Dam in Tak Province, 301 mcm, the second highest water inflow, 3) Sirindhorn Dam in Ubon Ratchathani Province, 292 mcm, 4) Srinagarind Dam and 5) Vajiralongkorn Dam in Kanchanaburi Province, with water inflow 250 mcm each, 6) Rajjaprabha Dam in
Surat Thani Province, 230 mcm, 7) Pasak Jolasid Dam in Lop Buri Province, 226 mcm, and 8) Ubolratana Dam in Khon Kaen Province, 115 mcm. Although the tropical storm NOUL increased inflow volume of many dams, there were only 2 dams that had volume of stored water at high level (more than 80% of the dam's storage capacity), namely Nongplalai Reservoir in Rayong Province and Khun Dan Prakan Chon Dam in Nakhon Nayok Province. The amount of water stored in many dams was still quite low. According to the Royal Irrigation Department’s dam water situation report on
September 25, 2020, there were 10 dams with a critically low water situation (volume of stored water less than 30% of the dam capacity), consisting of 1) Mae Mok Dam in Lampang Province, 2) Pasak Jolasid Dam in Lop Buri Province, 3) Thap Salao Dam in Uthai Thani Province, 4) Krasiao Dam in Suphan Buri Province, 5) Ubolratana Dam in Khon Kaen Province, 6) Mun Bon Dam in Nakhon Ratchasima Province, 7) Lam Sae Dam in Nakhon Ratchasima Province, 8) Lam Nang Rong Dam in Buri Ram Province, 9) Bang Pra Dam in Chon Buri Province, and 10) Khlong Si Yat Dam in Chachoengsao Province.