สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันที่ 1 ก.ย. 63 หลังจากนั้นร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกในวันที่ 2-4 ก.ย. 63 และเลื่อนขึ้นกลับขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงปลายสัปดาห์ กับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตาก 190 มิลลิเมตร ยะลา 165มิลลิเมตร และจังหวัดตรัง 161 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 กันยายน 2020 เวลา 11:30 น. |
สัปดาห์นี้ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ลาว และเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 26-28 ส.ค. 63 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์และค่อยๆ อ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 200 มิลลิเมตร จังหวัดอุทัยธานี 128 มิลลิเมตร และจังหวัดนราธิวาส 115 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 กันยายน 2020 เวลา 15:56 น. |
ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. 63 ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน เพชบูรณ์ หนองคาย และบึงกาฬ ทำให้มีน้ำไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งที่ภาคเหนือบริเวณลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณโขงอีสานและแม่น้ำยังของลุ่มน้ำชี เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากปริมาณฝนที่ตกหนักในช่วงดังกล่าว ส่งผลให้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพิ่มมากขึ้นประมาณ 600 ล้าน ลบ.ม. แต่จากประมาณการความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งและช่วงต้นฤดูฝนของปี 2564 ยังคงต้องการปริมาณกักเก็บน้ำเพิ่มอีกกว่า 9,000 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 กันยายน 2020 เวลา 15:56 น. |
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมค่อนข้างมากถึ ง 280 ล้านลูกบาศก์เมตร จากฝนวันแม่ เนื่องจากได้รับอิทธิพจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากใน พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งบริเวณสถานีเวียงสา ตำบลบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในช่วงวันที่ 15-17 สิงหาคม 63
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2020 เวลา 10:35 น. |