Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2562 (ระหว่างวันที่ 16-22 ก.ค. 62)

สัปดาห์นี้ในครึ่งแรกของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยตอนล่าง และอ่าวไทยมีกำลังแรงส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้มีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักหลายแห่ง ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนล่างอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนลดลง ในขณะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมควากดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 538 มิลลิเมตร พังงา 400 มิลลิเมตร และระนอง 225 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190722_predict_SendRid.pdf)20190722_predict_SendRid.pdf[ ]4074 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กรกฏาคม 2019 เวลา 18:00 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2562 (ระหว่างวันที่ 9-15 ก.ค. 62)

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในบางพื้นที่ หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 15 ก.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้งและมีฝนตกหนักในแนวรับลมมรสุม โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพและปริมณฑล กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กาญจนบุรี หนองคาย บึงกาฬ อำนาจเจริญ สุรินทร์ ชัยภูมิ อุดรธานี บุรีรัมย์ ตราด และจันทบุรี ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกปานกลางถึงหนักในบางพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส สตูล ยะลา และปัตตานี ส่วนภาคใต้ตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้้าและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 166 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 129 มิลลิเมตร และจังหวัดตาก 117 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190715_predict_SendRid.pdf)20190715_predict_SendRid.pdf[ ]3887 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กรกฏาคม 2019 เวลา 17:58 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2562 (ระหว่างวันที่ 2-8 ก.ค. 62)

วันที่ 2 ก.ค. 62 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “มูน” (MUN) เคลื่อนตัวผ่านเกาะไหลหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยและเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 4 ก.ค. 62 หลังจากนั้นพายุอ่อนกำลังลงจนเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 62 มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและประเทศลาวเข้าสู่พายุโซนร้อน “มูน” ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่รวมทั้งบริเวณภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ประเทศไทยมีฝนลดลงในหลายพื้นที่

Attachments:
Download this file (20190708_predict_SendRid.pdf)20190708_predict_SendRid.pdf[ ]4306 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กรกฏาคม 2019 เวลา 17:45 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2562 (ระหว่างวันที่ 25 มิ.ย. - 1 ก.ค. 62)

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร พะเยา ตาก กาญจนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ เลย ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี ตราด เพชรบุรี และราชบุรี ในช่วงวันที่ 24-30 มิ.ย. 62 ส่วนภาคใต้มีฝนตกลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต ในช่วงวันที่ 24-29 มิ.ย. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 349 มิลลิเมตร กาญจนบุรี 162 มิลลิเมตร และจันทบุรี 154 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190701_predict_SendRid.pdf)20190701_predict_SendRid.pdf[ ]4056 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 กรกฏาคม 2019 เวลา 10:38 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2562 (ระหว่างวันที่ 18-24 มิ.ย. 62)

ช่วงวันที่ 18-19 มิ.ย. 62 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และประเทศเวียดนามเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศกัมพูชาและอ่าวไทยตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ในตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 278 มิลลิเมตร จังหวัดสตูล 133 มิลลิเมตร และจังหวัดตรัง 113 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190624_predict_SendRid.pdf)20190624_predict_SendRid.pdf[ ]4042 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2019 เวลา 17:24 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 30 จาก 81
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง