สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ 198 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 193 มิลลิเมตร และจังหวัดบึงกาฬ 188 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 กรกฏาคม 2020 เวลา 20:53 น. |
สัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำเลื่อนลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ช่วงกลางสัปดาห์บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 201 มิลลิเมตร จังหวัดพะเยา 182 มิลลิเมตร และจังหวัดแพร่ 140 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2020 เวลา 14:44 น. |
สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังปานกลางประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามในวันที่ 16 มิ.ย. 63 ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเกิดฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลงส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลงโดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์ส่งผลให้เกิดฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 187 มิลลิเมตร จังหวัดอุตรดิตถ์ 179 มิลลิเมตา และจังหวัดนราธิวาส 130 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2020 เวลา 17:14 น. |
สัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนบนของอ่าวเบงกอลในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวจนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศฟิลิปปินส์มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนในวันที่ 12 มิ.ย. 63 โดยพายุเคลื่อนที่ทางทิศเหนือและมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “นูรี” ในวันที่ 13 มิ.ย. 63 และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันพร้อมกับเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในวันที่ 14 มิ.ย. 63 และสลายตัวไปในวันที่ 15 มิ.ย. 63 ส่งผลให้ในช่วงปลายสัปดาห์ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 128 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 115 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 104 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2020 เวลา 12:02 น. |