ช่วงต้นสัปดาห์นี้มีพายุโซนร้อน “เบบินคา”(BEBINCA)ก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทางฝั่งตะวันออกของเกาะไหหลำ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์พายุโซนร้อน “เบบินคา” เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันปกคลุมประเทศลาวตอนบนและภาคเหนือของประเทศไทย หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์พายุดีเปรสชันได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาร์ ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงแต่ยังคงส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากระจายตัวทั่วทุกภาคของประเทศไทย และจากอิทธิพลของพายุลูกนี้ส่งผลให้มี 3 จังหวัด ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 238 มิลลิเมตร น่าน 187 มิลลิเมตร และเชียงราย 171 มิลลิเมตร สำหรับเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (101%) และเขื่อนแก่งกระจาน (109%) ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 15,086 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 8,390 ล้านลูกบาศก์เมตร จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “เบบินคา” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2018 เวลา 18:20 น. |
|
ช่วงต้นสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกหนัก และมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ ต่อมาร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนาม ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง แต่ยังคงส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากนั้นช่วงวันที่ 10 ส.ค. 61 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ อีกทั้งลมมรสุมตะวันตกเฉียงมีกำลังแรงส่งผลให้ฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่จังหวัดระนอง 356 มิลลิเมตร พังงา 301 มิลลิเมตร และชุมพร 260 มิลลิเมตร ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนมีน้ำล้นเขื่อนที่เขื่อนน้ำอูน (103%) และเขื่อนแก่งกระจาน (102%)
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2018 เวลา 16:03 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์นี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พาดผ่านทะเลอันดามันและประเทศไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกกระจายตัวอยู่ทั่วทุกบริเวณ และมีฝนตกหนักในบางแห่ง ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้มีฝนตกหนักในบางแห่ง และในช่วงปลายสัปดาห์ประเทศไทยมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทวีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 180 มิลลิเมตร จังหวัดน่าน 149 มิลลิเมตร และจังหวัดกาญจนบุรี 121 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 สิงหาคม 2018 เวลา 17:51 น. |
วันที่ 24 ก.ค. 61 พายุโซนร้อน “เซินติญ” ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ช่วงต้นสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลให้ด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อมาวันที่ 27 ก.ค. 61 ไปจนถึงปลายสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสกลนคร 219 มิลลิเมตร ตราด 210 มิลลิเมตร และมุกดาหาร 204 มิลลิเมตร อีกทั้ง้เกิดดินถล่มบริเวณจังหวัดน่าน และเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น มุกดาหาร สกลนคร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 สิงหาคม 2018 เวลา 17:53 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรงต่อเนื่อง รวมทั้งร่องมรสุมมีกำลังแรงขึ้นและเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ยเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตวันออกเฉียงเหนือตอนบน และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ “เซินติญ” (SON-THIN) พร้อมเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 18 ก.ค. 61 หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุเซินติญยังคงปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 22 ก.ค. 61 ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยอ่อนกำลังลงเล็กน้อย หลังจากนั้นพายุลูกนี้ได้ทวีกำลังกลับขึ้นมาเป็นพายุดีเปรสชั่นอีกครั้ง ทำให้ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านประเทศพม่าตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังปานกลางทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 582 มิลลิเมตร น่าน 195 มิลลิเมตร และบึงกาฬ 173 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 กรกฏาคม 2018 เวลา 14:26 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 38 จาก 84 |