ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้คลื่นลมทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นช่วงกลางสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ตอนบนของประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และช่วงปลายสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทั้งทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยตอนบนยังคงมีคลื่นลมแรงอย่างต่อเนื่อง และภาคใต้มีฝนตกหนักเกือบตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 265 มิลลิเมตร ชุมพร 213 มิลลิเมตร และระนอง 205 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2018 เวลา 10:26 น. |
|
ช่วงต้นสัปดาห์พายุดีเปรสชั่น FIVE ในทะเลจีนใต้ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเข้าสู่เกาะไหหลำและทวีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นได้เข้าปกคลุมบริเวณมณฑลกวางตุ้งต่อไปในช่วงวันที่ 6 มิ.ย. 61 และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “เอวีเนียร์” (EWINIAR) ในวันที่ 7 มิ.ย. 61 เหนี่ยวนำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น และเกิดแนวลมพัดสอบกับลมหมุนด้านหน้าของพายุ ทำให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของภาคเหนือและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์พายุโซนร้อน “เอวีเนียร์” (EWINIAR) ที่ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้อ่อนกำลังลงและถูกเหนี่ยวนำให้เคลื่อนที่ออกไปทางทิศตะวันออก และเข้าปกคลุมเมืองเซินเจิ้นและเกาะฮ่องกง ประกอบกับเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านประเทศไทยทวีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศไทย จากนั้นร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศจีนตอนใต้ต่อไป ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 303 มิลลิเมตร ระนอง 174 มิลลิเมตร และจันทบุรี 151 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2018 เวลา 16:28 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมอ่าวเมาะตะมะมีกำลัังแรง เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ส่งผลให้ด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และช่วงตั้งแต่กลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคเหนือ ภาคกลาง มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้มีกำลังแรงขึ้นและเป็นพายุดีเปรสชั่น FIVE ในวันที่ 2 มิ.ย. 61 เคลื่อนตัวไปปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบนใกล้กับเกาะไหหลำ ประเทศจีน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 07 มิถุนายน 2018 เวลา 16:30 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์มีลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศ หลังจากนั้นช่วงกลางสัปดาห์เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอล ซึ่งส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย และปะทะกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยที่เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 13,023 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 6,327 ล้านลูกบาศก์เมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 สิงหาคม 2018 เวลา 16:03 น. |
ตลอดสัปดาห์นี้ หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่งผลให้เกิดฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี 124.6 มิลลิเมตร จังหวัดเชียงราย 119.2 มิลลิเมตร และจังหวัดน่าน 115.4 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2018 เวลา 16:49 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 39 จาก 84 |