Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2566 (ระหว่างวันที่ 15-21 ส.ค. 66)

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประเทศลาวตอนบน และประเทศเมียนมา ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ในวันที่ 20 ส.ค. 66 บริเวณกรุงเทพมหานครเกิดฝนตกปานกลางถึงหนักติดต่อกัน 3 ชั่วโมง (ช่วงเวลา 17.00-20.00 น.) โดยสามารถวัดฝนตกสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เขตตลิ่งชัน 99.5 มิลลิเมตร เขตบางกอกน้อย 87.5 มิลลิเมตร และเขตพระนคร 84.5 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าว และบริเวณตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ วัดฝนสะสม 3 ชั่วโมง (19.00-22.00 น. )ได้ 77 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณถนนศรีนครินทร์และถนนเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ

Attachments:
Download this file (20230821_Predict_SendRid.pdf)20230821_Predict_SendRid.pdf[ ]3440 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2023 เวลา 10:25 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2566 (ระหว่างวันที่ 8-14 ส.ค. 66)

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์และปลายสัปดาห์ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้โดยเฉพาะด้านตะวันตกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์

Attachments:
Download this file (20230814_Predict_SendRid.pdf)20230814_Predict_SendRid.pdf[ ]2706 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2023 เวลา 15:37 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2566 (ระหว่างวันที่ 1-7 ส.ค. 66)

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประเทศลาวตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระนอง 229.5 มิลลิเมตร ตาก 199.6 มิลลิเมตร นครพนม 164.6 มิลลิเมตร บึงกาฬ 148.8 มิลลิเมตร และน่าน 132.5 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง และดินสไลด์ทับเส้นทางบริเวณอำเภอท่าวังผา ปัว ดอยภูคา และบ่อเหลือ จังหวัดน่านในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. 66 และเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ตลาดชุมชนริมน้ำเมย บริเวณจังหวัดตาก รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ ในช่วงวันที่ 4 ส.ค. 66

Attachments:
Download this file (20230807_Predict_SendRid.pdf)20230807_Predict_SendRid.pdf[ ]3395 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2023 เวลา 11:29 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2566 (ระหว่างวันที่ 25-31 ก.ค. 66)

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 ก.ค. 66 และช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. 66 โดยหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตลอดทั้งสัปดาห์

Attachments:
Download this file (20230731_Predict_SendRid.pdf)20230731_Predict_SendRid.pdf[ ]3341 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 สิงหาคม 2023 เวลา 20:32 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2566 (ระหว่างวันที่ 18-24 ก.ค. 66)

จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ และพายุโซนร้อนกำลังแรง “ตาลิม” (TALIM) ในช่วงวันที่ 14-19 ก.ค. 66 ทำให้ประเทศไทยเกิดฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 363.5 มิลลิเมตร ระนอง 213.2 มิลลิเมตร ระยอง 201.6 มิลลิเมตร พังงา 186 มิลลิเมตร และชุมพร 165.6 มิลลิเมตร ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยวันที่ 18 ก.ค. 66 พื้นที่ภาคใต้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมในพื้นที่จังหวัดระนอง รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น สุขสำราญ และกะเปอร์ และจังหวัดชุมพร อำเภอสวี รวมทั้งสิ้น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งระยะ ครน และวิสัย วันที่ 20-21 ก.ค. 66 พื้นที่ภาคตะวันออกเกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดระยอง อำเภอปลวกแดง ตำบลแม่น้ำคู้ และจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราดและแหลมงอบ และวันที่ 21-22 ก.ค. 66 เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 12 เขต ได้แก่ เขตบางเขน พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง บึงกุ่ม บางซื่อ จตุจักร คลองเตย สวนหลวง หลักสี่ วัฒนา และวังทองหลาง โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมง (เวลา 00.00-01.00 น. วันที่ 22 ก.ค. 66) สูงสุด 5 อันดับแรกในพื้นที่เขตพระโขนง 104 มิลลิเมตร คลองเตย 95.5 มิลลิเมตร วังทองหลาง 82.5 มิลลิเมตร จตุจักร 80.5 มิลลิเมตร และบางกะปิ 79 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20230724_Predict_SendRid.pdf)20230724_Predict_SendRid.pdf[ ]3820 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 กรกฏาคม 2023 เวลา 16:57 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 9 จาก 84
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง