เหตุการณ์ : เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ในย่านชุมชนของอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของคืนวันที่ 3 พ.ย. 67 ถึงเวลา 04.00 น. ของเช้าวันที่ 4 พ.ย. 67 โดยที่สถานีชุมพรตรวจวัดปริมาณฝนสะสมได้ถึง 87.8 มิลลิเมตร และมีปริมาณฝนสะสมรายวันสูงถึง 192.2 มิลลิเมตร สาเหตุ : เกิดจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง และมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2024 เวลา 11:39 น. |
|
สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามในช่วงวันที่ 22-23 ต.ค. 67 ประกอบบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน และลมตะวันตกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ส่วนครึ่งหลังของสัปดาห์ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากพายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI) ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 27 ต.ค. 67 ทำให้ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นกับมีแนวลมพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบนในวันที่ 27 ต.ค. 67 ส่วนภาคใต้มีฝนตกกระจายตัวตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงปลายสัปดาห์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2024 เวลา 10:14 น. |
เหตุการณ์ : เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตั้งแต่คืนของวันที่ 19 ต.ค. 67 ถึง วันที่ 20 ต.ค. 67 จากการที่มีฝนตกสะสม 4 ชั่วโมง (ของวันที่ 19 ต.ค. 67 เวลา 16.00-20.00 น.) ที่สถานีศูนย์อปพร. อบต.บ้านไร่ สูงสุดถึง 115.8 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนรายชั่วโมงสูงสุดถึง 84.4 มิลลิเมตร และวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุดที่สถานีบ้านหินตุ้ม ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ ได้ถึง 148 มิลลิเมตร ส่งผลให้ช่วงวันที่ 20-21 ต.ค. 67 มีน้ำไหลลงเขื่อนกระเสียวรวมทั้งสิ้น 18.65 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำไหลลงรวม 10.07 ล้าน ลบ.ม. สาเหตุ : เกิดจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามและอ่าวไทยตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก
|
สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ตลอดสัปดาห์ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตลอดทั้งสัปดาห์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2024 เวลา 16:05 น. |
ช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. 67 เกิดฝนตกหนักบริเวณต้นน้ำปิง โดยตรวจวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุดได้ที่อำเภอแม่อาย 150.8 มิลลิเมตร รองลงมาคือ อำเภอฝาง 114 มิลลิเมตร อำเภอแม่วาง 103.5 มิลลิเมตร ทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีน้ำล้นตลิ่งเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 67 ระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งมากที่สุดถึง 1.6 เมตร ในวันที่ 5 ต.ค. 67 นอกจากนี้ยังทำให้เขื่อนแม่งัดเกิดน้ำล้นเขื่อนต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 67 จนถึงวันที่ 8 ต.ค. 67 และทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ใน 7 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอดอยหล่อ อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่แตง อำเภอเมือง อำเภอสารภี รวมทั้งสิ้น 33 ตำบล 187 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 28,367 ครัวเรือน ทั้งนี้สามารถดู
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2024 เวลา 16:04 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 2 จาก 84 |