Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2567 (ระหว่างวันที่ 27 ส.ค.-2 ก.ย. 67)

อิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคมจนถึงปลายเดือนสิงหาคม ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องบริเวณตอนบนของภาคเหนือ ปริมาณฝนสะสมเชิงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 16-31 ส.ค. 67 สูงสุด 5 อันดันแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 284 มิลลิเมตร รองลงมาคือจังหวัดพะเยา 266 มิลลิเมตร เชียงราย 231 มิลลิเมตร แพร่ 174 มิลลิเมตร และแม่ฮ่องสอน 151 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งบริเวณในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน และเป็นพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บ 5,568 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำได้อีก 3,942 ล้าน ลบ.ม ในวันที่ 16 ส.ค. 67 และจากสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงวันที่ 16-31 ส.ค. 67 ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 1,767.44 ล้าน ลบ.ม. และเริ่มมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 67 โดยน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุด 192.67 ล้าน ลบ.ม ในวันที่ 25 ส.ค. 67 ทำให้เขื่อนสิริกิติ์เริ่มลดการระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.67 และปิดการระบายน้ำในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. 67 ช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลลงมาสมทบและลดผลกระทบการอุทกภัยที่เกิดบริเวณท้ายน้ำ

Attachments:
Download this file (20240902_Predict_SendRid.pdf)20240902_Predict_SendRid.pdf[ ]2731 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 04 กันยายน 2024 เวลา 10:59 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2567 (ระหว่างวันที่ 20-26 ส.ค. 67)

เหตุการณ์ : เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งตั้งแต่วันที่ 16-26 ส.ค. 67 บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง เพชรบูรณ์ และสุโขทัย รวมมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 32 อำเภอ 136 ตำบล 797 หมู่บ้าน ประชาชน 14,502 ครัวเรือน โดยเฉพาะจังหวัดน่านที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องในวันที่ 20-22 ส.ค. 67 ทั้งนี้มีปริมาณฝนรายวันสูงสุดที่ตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง 249 มิลลิเมตร วันที่ 20 ส.ค. 67 ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล 183 มิลลิเมตร ในวันที่ 21 ส.ค. 67 และ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา 88 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 ส.ค. 67 และยังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินสไลด์ที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ในช่วงกลางดึกของวันที่ 22 ส.ค. 67 โดยมีปริมาณฝนสูงสุดที่สถานีบ้านกะรน ตำบลกะรน 177.5 มิลลิเมตร และสถานีบ้านนาใหญ่ ตำบลฉลอง 90.5 มิลลิเมตร สาเหตุ : ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว และเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1-25 ส.ค. 67 มีมากกว่าปริมาณฝนปกติของเดือนสิงหาคมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง ทั้งนี้มีปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุดที่จังหวัดน่าน อำเภอทุ่งช้าง 429 มิลลิเมตร รองลงมาคือจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ 428 มิลลิเมตร และจังหวัดพะเยา อำเภอปง 407 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20240826_Predict_SendRid.pdf)20240826_Predict_SendRid.pdf[ ]2858 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2024 เวลา 14:30 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2567 (ระหว่างวันที่ 13-19 ส.ค. 67)

เหตุการณ์ : จังหวัดเชียงรายเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเมือง อำเภอแม่จัน อำเภอเทิง อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเชียงแสน ในวันที่ 15-17 ส.ค. 67 และจังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิดน้ำป่าไหลหลากพื้นที่อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย และอำเภอเมือง ในวันที่ 16-17 ส.ค. 67

สาเหตุ : จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ภาคเหนือมีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายมีปริมาณฝนสะสม 8 วัน ในช่วงวันที่ 11-18 ส.ค. 67 สูงสุด 264 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนรายวันสูงสุดที่สถานีแม่จัน อำเภอเเม่จัน 85.8 มิลลิเมตร (ฝนสะสมในช่วงวันที่ 14 ส.ค. 67 เวลา 21.00 น.- วันที่ 15 ส.ค. 67 เวลา 02.00 น. 78 มิลลิเมตร) รองลงมาคือสถานีสะพานแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย 83 มิลลิเมตร (ฝนสะสมในช่วงวันที่ 14 ส.ค. 67 เวลา 20.00 น. - วันที่ 15 ส.ค. 67 เวลา 03.00 น. 80 มิลลิเมตร) และสถานีท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย 81 มิลลิเมตร ในวันที่ 17 ส.ค. 67 (ปริมาณฝนสูงสุด 36 มิลลิเมตร เวลา 18.00 น.) ส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีปริมาณฝนสะสม 8 วัน ในช่วงวันที่ 11-18 ส.ค. 67 สูงสุด 192 มิลลิเมตร โดยมีฝนรายวันสูงสุดที่สถานีปางมะผ้า 66.6 มิลลิเมตร ในวันที่ 16 ส.ค. 67 (ฝนสะสมช่วงเวลา 18.00 -23.00 น. 59.6 มิลลิเมตร)

Attachments:
Download this file (20240819_Predict_SendRid.pdf)20240819_Predict_SendRid.pdf[ ]2784 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2024 เวลา 13:43 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2567 (ระหว่างวันที่ 6-12 ส.ค. 67)

เหตุการณ์ : วันที่ 12 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น. เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ และบ้านเรือนราษฎร บ้านไร่และบ้านท่าไคร้ หมู่ที่ 3 ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเส้นทางระหว่างทางหลวงแผ่นดิน 1095-บ้านไร่ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเดินทางสัญจรได้ รวมทั้งยังมีนักท่องเที่ยวติดอยู่ในรีสอร์ทจำนวน 6 ราย
สาเหตุ : เกิดจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศเมียนมาและประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ดังกล่าว โดยวันที่ 12 ส.ค. 67 เวลา 02.00-04.00 น. บริเวณสถานีอบต.ปางมะผ้ามีฝนตกหนักสะสม 2 ชั่วโมง 66.8 มิลลิเมตร วัดฝนสะสมรายชั่วโมงสูงสุดได้ 36.2 มิลลิเมตร เวลา 03.00-04.00 น. ของวันเดียวกัน และยังคงมีฝนตกต่อเนื่องจนถึงวันที่ 12 ส.ค. 67 เวลา 22.00 น. โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงได้สูงสุด 126.6 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20240812_Predict_SendRid.pdf)20240812_Predict_SendRid.pdf[ ]2570 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2024 เวลา 19:02 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2567 (ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.-5 ส.ค. 67)

เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งใน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง และปราจีนบุรี รวมพื้นที่ 41 อำเภอ 130 ตำบล 605 หมู่บ้าน มีประชาชนได้รับผลกระทบ 11,684 ครัวเรือน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่ผาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ประเทศเมียนมา ลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทั้งนี้มีฝนตกหนักมาก (มากกว่า 90 มิลลิเมตร) ใน 19 จังหวัด ปริมาณฝนรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย 211 มิลลิเมตร สุโขทัย 211 มิลลิเมตร อุตรดิตถ์ 207 มิลลิเมตร น่าน 185 มิลลิเมตร ตาก 154 มิลลิเมตร และตราด 152 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20240805_Predict_SendRid.pdf)20240805_Predict_SendRid.pdf[ ]2750 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 05 สิงหาคม 2024 เวลา 15:50 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 3 จาก 84
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง