ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีการปะทะกันระหว่างความกดอากาศสูงและความชื้นบริเวณภาคเหนือตอนบน กับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีกำลังแรงต่อเนื่อง ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 140 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร และจังหวัดเชียงราย 128 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2017 เวลา 14:53 น. |
ช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 60 ความกดอากาศสูงที่อ่อนกำลังลงกลับมามีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อนเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย ช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 18 พ.ย. ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ตอนล่างทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุและเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนแล้วอ่อนกำลังลง โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี 159 มิลลิเมตร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 145 มิลลิเมตร และจังหวัดสตูล 125 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 09 ธันวาคม 2017 เวลา 12:37 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน จากนั้นในวันที่ 2 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่วนร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยทวีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกที่แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจาพายุดีเปรสชันเข้าปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตอนล่าง ทั้งนี้พายุโซนร้อน ด็อมเร็ย (Damrey) ในทะเลจีนใต้ได้ทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวค่อนไปทางทิศตะวันตกผ่านประเทศเวียดนามตอนล่างและประเทศกัมพูชา จากนั้นได้ปะทะกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรง ทำให้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอ่าวไทยตอนบน ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 267 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 170 มิลลิเมตร และพัทลุง 161 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2017 เวลา 16:10 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์ร่องมรสุมยังคงมีกำลังแรง พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนช่วงปลายสัปดาห์ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณตอนบนของประเทศ โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก 172 มิลลิเมตร จังหวัดสุโขทัย 144 มิลลิเมตร และจังหวัดตาก 140 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 03 พฤศจิกายน 2017 เวลา 15:11 น. |