Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2568 (ระหว่างวันที่ 8-14 เม.ย. 68)

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยมีกลุ่มเมฆปกคลุมบางเบาบริเวณภาคเหนือตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ และมีกลุ่มเมฆกระจุกตัวหนาแน่นเป็นระยะๆ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางด้านฝั่งตะวันตก และภาคใต้ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับในช่วงต้นสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ และในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนใน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในช่วงต้นสัปดาห์ และมีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยในช่วงปลายสัปดาห์

Attachments:
Download this file (20250414_Predict_SendRid.pdf)20250414_Predict_SendRid.pdf[ ]2291 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2025 เวลา 09:32 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2568 (ระหว่างวันที่ 1-7 เม.ย. 68)

เหตุการณ์ : เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ น่าน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ หนองบัวลำภู ชัยภูมิ มหาสารคาม ลพบุรี สมุทรปราการ และนนทบุรี ในช่วงวันที่ 2-7 เมษายน 2568 โดยจังหวัดที่มีปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ น่าน 85.4 มิลลิเมตร ตาก 78.5 มิลลิเมตร กาญจนบุรี 71.5 มิลลิเมตร นครปฐม 70 มิลลิเมตร ชัยภูมิ 62.4 มิลลิเมตร ตราด 61 มิลลิเมตร สระบุรี 60.2 มิลลิเมตร ราชบุรี 54.5 มิลลิเมตร ลำพูน 53.8 มิลลิเมตร และจังหวัดสุรินทร์ 53.8 มิลลิเมตร สาเหตุ :เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนส่งผลให้มีเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในช่วงวันที่ 1-7 เมษายน 2568

Attachments:
Download this file (20250407_Predict_SendRid.pdf)20250407_Predict_SendRid.pdf[ ]3110 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 เมษายน 2025 เวลา 17:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2568 (ระหว่างวันที่ 25-31 มี.ค. 68)

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีกลุ่มเมฆปกคลุมบางเบาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกในวันที่ 25 มี.ค. 68 และกลุ่มเมฆกระจุกตัวบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนในวันที่ 30 มี.ค. 68 ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีกลุ่มเมฆปกคลุมบางเบาเป็นระยะๆ กับมีกลุ่มเมมกระจุกตัวหนาแน่นในวันที่ 31 มี.ค. 68 ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณดังกล่าว และมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนเกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

Attachments:
Download this file (20250331_Predict_SendRid.pdf)20250331_Predict_SendRid.pdf[ ]2384 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2025 เวลา 11:12 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2568 (ระหว่างวันที่ 18-24 มี.ค. 68)

เหตุการณ์: เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในพื้นที่อำเภอพาน อำเภอแม่ลาว อำเภอป่าแดด และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รวมถึงอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 18 มีนาคม 2568 ส่งผลให้มีบ้านเรือนและโรงเรียนเสียหายในหลายพื้นที่ ทั้งนี้สามารถวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ 46 มิลลิเมตร เชียงราย 44.2 มิลลิเมตร และกาญจนบุรี 41 มิลลิเมตร สาเหตุ: บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ส่งผลให้มีเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในวันที่ 18 มีนาคม 2568

Attachments:
Download this file (20250324_Predict_SendRid.pdf)20250324_Predict_SendRid.pdf[ ]3068 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 มีนาคม 2025 เวลา 09:25 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2568 (ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 68)

เหตุการณ์ : เกิดพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สุรินทร์ นครสวรรค์ สระแก้ว และตราด ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายกับทั้งบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตรกรรม อาทิเช่น สวนทุเรียน ทั้งนี้สามารถวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 273 มิลลิเมตร ชัยภูมิ 104.3 มิลลิเมตร สุพรรณบุรี 86.5 มิลลิเมตร สระแก้ว 85.7 มิลลิเมตร มหาสารคาม 82.5 มิลลิเมตร กรุงเทพมหานคร 78 มิลลิเมตร อุทัยธานี 75.5 มิลลิเมตร เชียงใหม่ 74.5 มิลลิเมตร ปทุมธานี 74 มิลลิเมตร และสระบุรี 72 มิลลิเมตร
สาเหตุ : บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในบริเวณดังกล่าว

Attachments:
Download this file (20250317_Predict_SendRid.pdf)20250317_Predict_SendRid.pdf[ ]2469 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2025 เวลา 14:56 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 1 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง