Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2567 (ระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค. 67)

ช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. 67 เกิดฝนตกหนักบริเวณต้นน้ำปิง โดยตรวจวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุดได้ที่อำเภอแม่อาย 150.8 มิลลิเมตร รองลงมาคือ อำเภอฝาง 114 มิลลิเมตร อำเภอแม่วาง 103.5 มิลลิเมตร ทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีน้ำล้นตลิ่งเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 67 ระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งมากที่สุดถึง 1.6 เมตร ในวันที่ 5 ต.ค. 67 นอกจากนี้ยังทำให้เขื่อนแม่งัดเกิดน้ำล้นเขื่อนต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 67 จนถึงวันที่ 8 ต.ค. 67 และทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ใน 7 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอดอยหล่อ อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่แตง อำเภอเมือง อำเภอสารภี รวมทั้งสิ้น 33 ตำบล 187 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 28,367 ครัวเรือน ทั้งนี้สามารถดู

Attachments:
Download this file (20241007_Predict_SendRid.pdf)20241007_Predict_SendRid.pdf[ ]2783 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2024 เวลา 16:04 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2567 (ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ย. 67)

สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดฝนตกหนักที่หนักมากกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน (วันที่ 23-29 ก.ย. 67) สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดแพร่ 219 มิลลิเมตร พะเยา 197.2 มิลลิเมตร ลำพูน 186.8 มิลลิเมตร เชียงใหม่ 186.4 มิลลิเมตร น่าน 181 มิลลิเมตร และแม่ฮ่องสอน 174.8 มิลลิเมตร ทำให้ระดับน้ำบริเวณแม่น้ำสายหลักปิง วัง และยมเกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้เกิดน้ำล้นเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลต่อเนื่องมาแต่วันที่ 25 ก.ย. 67 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 6 วัน จึงต้องเพิ่มการระบายน้ำให้มากขึ้นในช่วงวันที่ 27-30 ก.ย. 67 ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำปิง อำเภอเมืองเชียงใหม่และสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่คืนวันที่ 25 ก.ย. 67 จนถึงวันที่ 28 ก.ย. 67 และอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในช่วงเดียวกัน ซึ่งจากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานีสะพานนวรัฐ (P.1) อำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่าได้เกิดน้ำล้นตลิ่งต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 24-28 ก.ย. 67 ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 305.43 ม.รทก. ในวันที่ 26 ก.ย. 67 เวลา 02.00-03.00 น. ซึ่งสูงที่สุดหากเทียบกับข้อมูลในรอบรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนบริเวณลุ่มน้ำยมมวลน้ำจากบริเวณตอนบนส่งผลให้ที่สถานีบ้านน้ำโค้ง (Y.1C) อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เกิดน้ำล้นตลิ่งต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 24-27 ก.ย. 67 ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 153.39 ม.รทก. ในวันที่ 26 ก.ย. 67 เวลา 17.00-18.00 น.

Attachments:
Download this file (20240930_Predict_SendRid.pdf)20240930_Predict_SendRid.pdf[ ]2608 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2024 เวลา 11:57 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2567 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ย. 67)

เหตุการณ์ : เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ พิษณุโลก เลย หนองคาย และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งสิ้น 34 อำเภอ 157 ตำบล 630 หมู่บ้าน
สาเหตุ : ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอิทธิพลจากพายุ “ซูลิก” (SOULIK) ที่เคลื่อนทางทิศตะวันตกเข้าสู่บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 19 ก.ย. 67 พร้อมทั้งได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 67 จากนั้นเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางตรี ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันเดียวกัน และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ในวันที่ 20 ก.ย. 67 ทำให้ตลอดทั้งสัปดาห์ประเทศไทยเกิดฝนต่อเนื่อง กับฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน รวมถึงภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตก โดยสามารถวัดปริมาณฝนตกหนักมากรายวันได้สูงถึง 46 จังหวัด และจังหวัดที่มีปริมาณฝนสูงสุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต 263 มิลลิเมตร ตราด 262.3 มิลลิเมตร ลำปาง 169 มิลลิเมตร พะเยา 165 มิลลิเมตร และเชียงใหม่ 160 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20240923_Predict_SendRid.pdf)20240923_Predict_SendRid.pdf[ ]2674 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 25 กันยายน 2024 เวลา 15:30 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2567 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.ย. 67)

ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาพื้นที่รอยต่อของประเทศไทย เมียนมา และลาว มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” (YAGI) และร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และชายแดนของประเทศเมียนมาเกิดมีฝนตกต่อเนื่อง กับฝนตกหนักถึงหนักมากกระจุกตัวในพื้นที่ ซึ่งฝนที่ตกในบริเวณดังกล่าวได้ไหลลงสู่แม่น้ำสาย เข้าท่วมพื้นที่ริมน้ำบริเวณอำเภอแม่สายและอำเภอเมืองเชียงรายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่ตลาดสายลมจอย ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหนัก โดยสามารถตรวจวัดปริมาณฝนที่ของสถานีตรวจอากาศบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่มีปริมาณฝนสะสม 3 วัน (วันที่ 9-11 ก.ย. 67) ได้สูงถึง 387.4 มม. ที่สถานีที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย รองลงมาคือที่สถานีสันติคีรี ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ปริมาณฝน 366.5 มม. และที่สถานีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ดป.๔ (โครงการบ้านเล็กฯ) ต.แม่สาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ปริมาณฝน 324.6 มม. และตรวจพบฝนตกเกิน 100 มม. ต่อวัน ได้ถึง 5 สถานี ได้แก่ สถานีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ดป.๔ (โครงการบ้านเล็กฯ) ต.แม่สาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 234.8 มม. สถานีที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย 225.4 มม. สถานีหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวง ต. โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 216.2 มม. สถานีหน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่กก ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 214 มม. และสถานีบ้านจะนะ ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 211 มม. ในวันที่ 10 ก.ย. 67 ทั้งนี้สามารถตรวจวัดระดับน้ำสูงสุดที่สถานีแม่อาย อำเภอแม่สาย จังหวัดชียงใหม่ สามารถวัดได้ระดับน้ำได้สูงถึง 451.18 ม.รทก. วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 3.10 น. และมวลน้ำได้ไหลมาสมทบที่อำเภอเมืองเชียงราย ตรวจวัดที่สถานีสะพานแม่ฟ้าหลวง ระดับน้ำสูงสุด 395.61 ม.รทก. วันที่ 12 ก.ย. 67 เวลา 4.40 น. อีกทั้งในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ทำให้บริเวณจังหวัดหนองคายเกิดน้ำท่วมฉับพลัน รวมทั้งสิ้น 6 อ. ได้แก่ อ.รัตนวาปี เมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ สังคม ท่าบ่อ และโพนพิสัย เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ รวมไปถึงมวลน้ำจากภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและระดับน้ำบริเวณริมแม่น้ำโขงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สถานีตรวจอากาศบริเวณจังหวัดหนองคายตรวจวัดปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สถานีหนองคาย ต.มีชีย อ.เมืองหนองคาย 110.6 มม. สถานีรร.บ้านหนองแอก ต.บ้านผือ อ.โพนพิสัย 85.8 มม. สถานีทต.สังคม ต.สังคม อ.สังคม 85.4 มม. และมีระดับน้ำล้นตลิ่งที่สถานีสะพานห้วยน้ำฮวย อ.สังคม จ.หนองคาย ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 และมีระดับน้ำสูงสุด 177.98 ม.รทก. วันที่ 14 ก.ย. 67 เวลา 16.40-18.00 น.

Attachments:
Download this file (20240916_Predict_SendRid.pdf)20240916_Predict_SendRid.pdf[ ]2838 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2024 เวลา 18:05 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2567 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ย. 67)

เหตุการณ์ : เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ระยอง ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง รวมทั้งสิ้น 119 อำเภอ 532 ตำบล 2,811 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ 82,087 ครัวเรือน

สาเหตุ : อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง และพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” (YAGI) ที่ได้เคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยและขึ้นฝั่งบริเวณเมืองไฮฟอง ประเทศเวียดนาม ในช่วงบ่ายของวันที่ 7 ก.ย. 67 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนบริเวณเมืองนิญบิ่ญ ประเทศเวียดนาม ในช่วงเช้าของวันที่ 8 ก.ย. 67 อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงเย็นของวันเดียวกัน จากอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67 ทั้งนี้ สามารถวัดปริมาณฝนตกหนักมากได้ถึง 24 จังหวัด และวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ จันทบุรี 477 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 456 มิลลิเมตร พังงา 380 มิลลิเมตร เชียงใหม่ 318.4 มิลลิเมตร ระนอง 292 มิลลิเมตร ตราด 284.5 มิลลิเมตร ตาก 251.5 มิลลิเมตร ชุมพร 250.5 มิลลิเมตร ปราจีนบุรี 244.6 มิลลิเมตร และกระบี่ 229 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20240909_Predict_SendRid.pdf)20240909_Predict_SendRid.pdf[ ]2754 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2024 เวลา 18:05 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 4 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง