อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนบนในวันที่ 22 ก.ย. 66 และมีร่องมรสุมที่เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 66 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ที่มีฝนตกหนักมากบริเวณด้านตะวันตกของภาค โดยจังหวัดภูเก็ตสามารถตรวจวัดปริมาณฝนสูงสุด 123 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 ก.ย. 66 และทำให้เกิดน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ที่เทศบาลป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 กันยายน 2023 เวลา 09:51 น. |
|
อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่างในครึ่งหลังของสัปดาห์ รวมถึงร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยมีฝนสะสม 5 วัน (ช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. 66) สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ จังหวัดตราด 338 มิลลิเมตร สุโขทัย 247 มิลลิเมตร และจันทบุรี 243 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 21 จังหวัด ส่งผลกระทบ 45 อำเภอ 73 ตำบล 152 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 659 ครัวเรือน นอกจากนี้ฝนที่ตกหนักในช่วง 5 วันนี้ ช่วยทำให้ภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 890 ล้าน ลบ.ม. และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 693 ล้าน ลบ.ม.
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 กันยายน 2023 เวลา 10:09 น. |
อิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงตลอดทั้งสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยที่จังหวัดเชียงรายมีปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมงสูงสุด 34.4 มิลลิเมตร ในวันที่ 10 ก.ย. 66 เวลา 09.00 น. และที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีปริมาณฝนสะสม 2 ชั่วโมง สูงถึง 88 มิลลิเมตร ในวันที่ 10 ก.ย. 66 เวลา 19.00-20.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 9-11 ก.ย. 66 ยังได้เกิดน้ำท่วมในอีก 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก มุกดาหาร อุดรธานี ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี และสตูล รวมทั้งสิ้น 16 อำเภอ 38 ตำบล 140 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 5,300 ครัวเรือน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 กันยายน 2023 เวลา 11:46 น. |
จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยพายุไห่ขุยและคีโรบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถึงแม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่กลับทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณใกล้เคียงมีกำลังแรง ส่งผลให้ร่องมรสุมและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 1-4 ก.ย. 66 เกิดฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน โดยสามารถวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตรัง 627 มิลลิเมตร ตราด 496.6 มิลลิเมตร จันทบุรี 256 มิลลิเมตร ระนอง 231.4 มิลลิเมตร และพังงา 218.2 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำพูน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ชัยภูมิ จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พังงา และสตูล รวมทั้งสิ้น 14 อำเภอ 36 ตำบล 146 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบ 1,561 ครัวเรือน อีกทั้งยังส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสม (วันที่ 29 ส.ค. - 4 ก.ย. 66) ของเขื่อนสิรินธรสูงถึง 183 ล้านลูกบาศก์เมตร และสูงสุดในวันที่ 1 ก.ย. 66 ถึง 103 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชชประภาน้ำไหลลงเขื่อนสะสม (วันที่ 2-4 ก.ย. 66) สูงถึง 152 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนภูมิพลน้ำไหลลงเขื่อนในวันที่ 4 ก.ย. 66 สูงถึง 29 ล้านลูกบาศก์เมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 กันยายน 2023 เวลา 16:04 น. |
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนมาแล้วประมาณ 4 เดือน มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-27 ส.ค. 66 ประมาณ 550 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติประมาณ 230 มิลลิเมตร หรือประมาณ 31 % ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมในช่วง 4 เดือนนี้ประมาณ 10,891 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 2,664 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับข้อมูลตั้งแต่ปี 2562-2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2562-2563 ที่ประเทศไทยประสบภัยแล้งรุนแรง
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2023 เวลา 13:22 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 10 จาก 85 |