จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ และพายุโซนร้อนกำลังแรง “ตาลิม” (TALIM) ในช่วงวันที่ 14-19 ก.ค. 66 ทำให้ประเทศไทยเกิดฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 363.5 มิลลิเมตร ระนอง 213.2 มิลลิเมตร ระยอง 201.6 มิลลิเมตร พังงา 186 มิลลิเมตร และชุมพร 165.6 มิลลิเมตร ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยวันที่ 18 ก.ค. 66 พื้นที่ภาคใต้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมในพื้นที่จังหวัดระนอง รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น สุขสำราญ และกะเปอร์ และจังหวัดชุมพร อำเภอสวี รวมทั้งสิ้น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งระยะ ครน และวิสัย วันที่ 20-21 ก.ค. 66 พื้นที่ภาคตะวันออกเกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดระยอง อำเภอปลวกแดง ตำบลแม่น้ำคู้ และจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราดและแหลมงอบ และวันที่ 21-22 ก.ค. 66 เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 12 เขต ได้แก่ เขตบางเขน พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง บึงกุ่ม บางซื่อ จตุจักร คลองเตย สวนหลวง หลักสี่ วัฒนา และวังทองหลาง โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมง (เวลา 00.00-01.00 น. วันที่ 22 ก.ค. 66) สูงสุด 5 อันดับแรกในพื้นที่เขตพระโขนง 104 มิลลิเมตร คลองเตย 95.5 มิลลิเมตร วังทองหลาง 82.5 มิลลิเมตร จตุจักร 80.5 มิลลิเมตร และบางกะปิ 79 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 กรกฏาคม 2023 เวลา 16:57 น. |
|
สัปดาห์นี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ลาว ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อความกดอากาศต่ำดังกล่าว ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. 66 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กรกฏาคม 2023 เวลา 15:40 น. |
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจากบริเวณทะเลจีนใต้เคลื่อนผ่านทะเลอ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ในระหว่างวันที่ 8-9 ก.ค. 66 ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร ตาก นครสวรรค์ ลำพูน และเกิดน้ำท่วมที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 9 ก.ค. 66 โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วัน (7-9 ก.ค. 66) สูงถึง115 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 กรกฏาคม 2023 เวลา 12:47 น. |
จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค. 66 ซึ่งจากข้อมูลโทรมาตรสามารถวัดปริมาณฝนสะสม 2 ชั่วโมง ที่สถานีทต.เจ๊ะบิลัง ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สามารถวัด ได้ 66.6 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 11.00-13.00 น. ของวันที่ 30 มิ.ย. 66 และวัดได้ 87 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. ของวันที่ 1 ก.ค. 66 และสถานี รร.บ้านลำปลอกเหนือ ตำบลเขาในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง วัดปริมาณฝนสะสมได้สูงถึง 54 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. ของวันที่ 1 ก.ค. 66 ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขังในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.-3 ก.ค. 66 บริเวณจังหวัดสตูลและจังหวัดตรังรวมทั้งสิ้น 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนกาหลง ควนโดน ทุ่งหว้า มะนัง ละงู ท่าแพ และเมืองสตูล จังหวัดสตูล และอำเภอเมืองตรัง ห้วยยอด นาโยง ย่านตาขาว ปะเหลียน กันตัง และหาดสำราญ จังหวัดตรัง
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 กรกฏาคม 2023 เวลา 12:42 น. |
สาเหตุ : ลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ และร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน ผลกระทบ : เกิดฝนตกติดต่อกันนานกว่า 2 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลา 00.00-02.00 น. ที่สถานี รพสต.บ้านโคกอุดม อ.กบินทร์บุรี วัดปริมาณฝนสะสมได้ 34.6 มิลลิเมตร อีกทั้งสถานีโรงเรียนบ้านหินเทินและสถานีนาดี อ.นาดี ที่วัดปริมาณฝนสะสมได้สูงถึง 71.8 มิลลิเมตร และ 67.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งเป็นปริมาณฝนที่ตกเพียง 2 ชั่วโมง แต่กลับมากกว่าเกณฑ์ปริมาณฝนตกหนักรายวัน ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากบริเวณอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 24 มิ.ย. 66 และทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชนมากกว่า 30 หลังคาเรือน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2023 เวลา 11:52 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 11 จาก 85 |