Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2565 (ระหว่างวันที่ 8-14 พ.ย. 65)

ภาคใต้ตอนล่างเริ่มกลับมามีฝนตกหนักอีกครั้ง เนื่องจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศมาเลเซีย ทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่ช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. 65 ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง โดยมีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัดนราธิวาส สงขลา ปัตตานี และยะลา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 11-13 พ.ย. 65 บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมพื้นที่ 13 อำเภอ 55 ตำบล 201 หมู่บ้าน และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 4,919 ครัวเรือน รวมถึงส่งผลให้เขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนในวันที่ 12 พ.ย. 65 สูงถึง 30.94 ล้าน ลบ.ม. และทำให้ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 919.13 ล้าน ลบ.ม.

Attachments:
Download this file (20221114_Predict_SendRid.pdf)20221114_Predict_SendRid.pdf[ ]4411 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2022 เวลา 17:30 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2565 (ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ย. 65)

อิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักมากทั้งสิ้น 9 จังหวัด ส่งผลให้ช่วงวันที่ 4-7 พ.ย. 65 เกิดท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสตูล สงขลา ตรัง และยะลา รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ 14 ตำบล 59 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 1,444 ครัวเรือน

Attachments:
Download this file (20221107_Predict_SendRid.pdf)20221107_Predict_SendRid.pdf[ ]4685 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 พฤศจิกายน 2022 เวลา 10:39 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2565 (ระหว่างวันที่ 25-31 ต.ค. 65)

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง หลังจากนั้นในวันที่ 29 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนฝนลดลง ลมแรงขึ้น และมีอากาศเย็นลง และจากบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ของประเทศ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในบางแห่ง

Attachments:
Download this file (20221031_Predict_SendRid.pdf)20221031_Predict_SendRid.pdf[ ]4666 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 พฤศจิกายน 2022 เวลา 14:32 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2565 (ระหว่างวันที่ 18-24 ต.ค. 65)

อิทธิพลของร่องมรสุมที่ผาดผ่านบริเวณภาคใต้ต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวันที่ 16-24 ต.ค. 65 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคใต้ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องรวมถึงมีฝนเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมาก(มากกว่า 90 มิลลิเมตร) ในพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา สตูล กระบี่ สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส รวมพื้นที่ 27 อำเภอ 74 ตำบล 299 หมู่บ้าน และมีประชาชน ได้รับผลกระทบ 9,885 ครัวเรือน

Attachments:
Download this file (20221024_Predict_SendRid.pdf)20221024_Predict_SendRid.pdf[ ]4696 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2022 เวลา 10:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2565 (ระหว่างวันที่ 11-17 ต.ค. 65)

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. 65 ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น และทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในวันที่ 16 ต.ค. 65 มีปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงสูงสุด ที่จังหวัดภูเก็ต 138 มิลลิเมตร สตูล 94 มิลลิเมตร และนครศรีธรรมราช 93 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังบริเวณอำเภอกระทู้ อำเภอเมือง และอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รวม 10 ตำบล 15 หมู่บ้าน และในช่วงวันที่ 5-13 ต.ค. 65 จากอิทธิพลของน้ำทะเลที่หนุนสูงต่อเนื่อง โดยมีระดับน้ำขึ้นสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า (วันที่ 13 ต.ค. 65 เวลา 07:50 น.) สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 1.81 เมตร ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำออกสู่ทะเล ประกอบกับปริมาณน้ำในลำน้ำทั้งแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีปริมาณมาก ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ปากแม่น้ำบริเวณกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม

Attachments:
Download this file (20221017_Predict_SendRid.pdf)20221017_Predict_SendRid.pdf[ ]4476 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2022 เวลา 14:55 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 15 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง