Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2566 (ระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค. 66)

ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระนอง ยะลา ภูเก็ต พังงา นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร และเพชรบูรณ์ เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับลมฝ่ายตะวันออกและพายุไซโคลน “โมคา” (MOCHA) บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงวันที่ 9-15 พ.ค. 66 ซึ่งทำให้ตอนบนของประเทศมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศสิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝน ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566

Attachments:
Download this file (20230522_Predict_SendRid.pdf)20230522_Predict_SendRid.pdf[ ]3748 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2023 เวลา 15:09 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2566 (ระหว่างวันที่ 9-15 พ.ค. 66)

สัปดาห์ที่ผ่านมาลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามัน เข้าปกคลุมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโมคาบริเวณอ่าวเบงกอล ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-14 พ.ค. 66 โดยมีฝนตกสะสม 7 วัน (วันที่ 8-14 พ.ค. 66) สูงสุดที่จังหวัดพะเยา 183 มิลลิเมตร ลำพูน 176 มิลลิเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี 167 มิลลิเมตร และทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ อุบลราชธานี และชลบุรี

Attachments:
Download this file (20230515_Predict_SendRid.pdf)20230515_Predict_SendRid.pdf[ ]3535 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2023 เวลา 20:01 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2566 (ระหว่างวันที่ 2-8 พ.ค. 66)

สัปดาห์นี้ความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้าปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนขณะที่ประเทศไทยตอนบนที่อากาศร้อน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตกในบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในบางแห่ง

Attachments:
Download this file (20230508_Predict_SendRid.pdf)20230508_Predict_SendRid.pdf[ ]3731 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 08 พฤษภาคม 2023 เวลา 15:51 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2566 (ระหว่างวันที่ 25 เม.ย.-1 พ.ค. 66)

เกิดพายุฤดูร้อนในช่วงปลายเดือนเมษายน 2566 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลัง ปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในช่วงปลายเดือน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่กับมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่งผลกระทบในพื้นที่ 22 จังหวัด รวมพื้นที่ 59 อำเภอ 149 ตำบล 351 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 2,625 หลัง ทั้งนี้จากอิทธิพลของพายุช่วยให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน (วันที่ 24-30 เม.ย. 66) สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน ประมาณ 380 มิลลิเมตร จังหวัดจันทบุรี 128 มิลลิเมตร และจังหวัดแพร่ 98 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (202230501_Predict_SendRid.pdf)202230501_Predict_SendRid.pdf[ ]3563 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 พฤษภาคม 2023 เวลา 16:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2566 (ระหว่างวันที่ 18-24 เม.ย. 66)

ช่วงวันที่ 20-23 เม.ย. 66 ประเทศไทยเกิดพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM 2.5 บริเวณดังกล่าวลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในวันที่ 18 เม.ย. 66 เวลา 18.00 น. ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงถึง 142 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) หลังจากนั้นในวันที่ 21-23 เม.ย. 66 ได้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในพื้นที่ ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลงจนอยู่ในเกณฑ์ดีตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 66 เวลา 16.00 น. จนถึงปัจจุบัน

Attachments:
Download this file (20230424_Predict_SendRid.pdf)20230424_Predict_SendRid.pdf[ ]4932 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 เมษายน 2023 เวลา 11:07 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 12 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง