ช่วงวันที่ 9-11 ก.ค. 65 ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมและดินสไลด์ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา จันทบุรี ชุมพร และระนอง รวมพื้นที่ 4 อำเภอ 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย และมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจังหวัดที่มีปริมาณฝนสะสม 3 วัน มากกว่า 100 มิลลิเมตร ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด นครนายก ลพบุรี ปราจีนบุรี ตราด ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา ทั้งนี้จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ทำให้ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และมีคลื่นสูงกว่า 3 เมตร บริเวณที่ฝนตก โดยปัจจัยที่ทำให้ฝนในช่วงนี้มีค่าสูงกว่าปกติ เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ลมค้ามีกำลังแรง อุณหภูมิน้ำทะเลในแปซิฟิกตะวันออกมีค่าเป็นลบ (ดัชนี ONI เป็นลบ:ลานีญา) ดัชนี PDO เป็นลบ และปรากฎการณ์ MJO มีกำลังค่อนข้างแรงตั้งแต่วันที่ 2-8 ก.ค. 65 ให้เกิดการแปรปรวนของสภาพอากาศ ประกอบกับเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ และร่องมรสุมปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมาก 2) ลมมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดียมีกำลังแรงและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลฝั่งอินเดียตะวันออกสูงกว่าฝั่งตะวันตก (ดัชนี DMI เป็นลบ) ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง
|
|
ช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 2 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว เข้าสู่พายุโซนร้อน “ชบา” (CHABA) ส่งผลให้มีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนสะสมช่วงวันที่ 29 มิ.ย.-2 ก.ค. 65 มากกกว่า 90 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา บึงกาฬ มุกดาหาร อุบลราชธานี กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด จันทบุรี ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะภาคเหนือที่ฝนตกหนัก ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา และน่าน ทั้งนี้ฝนที่ตกหนักบริเวณจังหวัดน่านส่งผลดีทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์เพิ่มขึ้นถึง 91 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2565 ซึ่งปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์มีน้ำกักเก็บอยู่ค่อนข้างน้อย และจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรง ส่งผลให้ทะเลฝั่งอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกิดคลื่นซัดฝั่งและน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณหาดทรายแก้ว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 3 ก.ค. 65
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 กรกฏาคม 2022 เวลา 19:27 น. |
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักได้ในบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2022 เวลา 17:53 น. |
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศลาวตอนบน ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาและประเทศเวียดนามตอนบน รวมถึงลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2022 เวลา 21:37 น. |
สัปดาห์นี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวตังเกี๋ย ในวันที่ 7 มิ.ย. 65 และเคลื่อนไปปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 8-13 มิ.ย. 65 โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวในตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ตอนล่าง
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2022 เวลา 21:36 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 17 จาก 85 |