Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2564 (ระหว่างวันที่ 20-27 ก.ย. 64)

สัปดาห์นี้ในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 64 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กําแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมาบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม เนื่องจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างในช่วงวันที่ 24-26 ก.ย. 64 ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใตฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตร จำนวน 27 จังหวัด โดยมีปริมาณฝนสูงสุด ที่จังหวัดนครสวรรค์ 271 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 200 มิลลิเมตร และจันทบุรี 174 มิลลิเมตร ทั้งนี้จากอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เพิ่มมากขึ้น และมีน้ำล้นทางระบายน้ำล้นบริเวณเขื่อนแม่มอก เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนหนองปลาไหล โดยมีปริมาณน้ำกักเก็บมากถึง 108.40% 101.89% และ100.43% ตามลำดับ

Attachments:
Download this file (20210927_Predict_SendRid.pdf)20210927_Predict_SendRid.pdf[ ]8563 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 28 กันยายน 2021 เวลา 15:06 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2564 (ระหว่างวันที่ 14-20 ก.ย. 64)

“เขื่อนแม่มอก” มีปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ถึง 121.20 ล้านลูกบาศก์เมตร (110%) ในวันที่ 17 กันยายน 2564 และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 17.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 16 กันยายน 2564 เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยมีฝนตกหนักตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ บริเวณจังหวัดลำปาง ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี อุดรธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

Attachments:
Download this file (20210920_Predict_SendRid.pdf)20210920_Predict_SendRid.pdf[ ]4273 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2021 เวลา 17:34 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2564 (ระหว่างวันที่ 7-13 ก.ย. 64)

สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ลพบุรี สมุทรปราการ ระนอง กระบี่ และตรัง เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ แต่บริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์กลับมีฝนตกเพียงเล็กน้อย และน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 64 ส่งผลให้มีน้ำใช้การได้ของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 2,882 ล้านลูกบาศก์เมตร (13 กันยายน 2564) และเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2536 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2536-2537 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา

Attachments:
Download this file (20210913_Predict_SendRid.pdf)20210913_Predict_SendRid.pdf[ ]4115 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2021 เวลา 17:33 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2564 (ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-6 ก.ย. 64)

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ทำให้สัปดาห์นี้มีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน บริเวณจังหวัดระนอง ตราด บึงกาฬ ยะลา ชลบุรี เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สระแก้ว มหาสารคาม ชัยนาท อุบลราชธานี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดตาก กำแพงแพชร กาญจนบุรี พังงา สุพรรณบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี พิษณุโลก อ่างทอง แม่ฮ่องสอน และเลย ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ถึง 1,556 ล้าน ลบ.ม. ส่วน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำไหลลงเขื่อน 401 ล้าน ลบ.ม. แต่มีน้ำใช้การได้ในปัจจุบันเพียง 2,081 ล้าน ลบ.ม. (วันที่ 6 ก.ย. 64) ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2558 ที่เกิดภัยแล้ง โดยมีปริมาณน้ำมากกว่าเพียง 126 ล้าน ลบ.ม.

Attachments:
Download this file (20210906_Predict_SendRid.pdf)20210906_Predict_SendRid.pdf[ ]4094 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 กันยายน 2021 เวลา 18:54 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2564 (ระหว่างวันที่ 24-30 ส.ค. 64)

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังอ่อนในวันที่ 24 ส.ค. 64 จากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในช่วงวันที่ 25-30 ส.ค. 64 ส่งผลให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ

Attachments:
Download this file (20210830_Predict_SendRid.pdf)20210830_Predict_SendRid.pdf[ ]4269 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2021 เวลา 18:48 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 16 จาก 80
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง