ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย ทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังแรง เนื่องจากแนวปะทะมวลอากาศคงที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลที่ในเวลาต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน "อัสนี" ทำให้เกือบทั่วประเทศมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่อำเภอวิภาวดี ไชยา และท่าฉาง ซึ่งวัดปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมง ได้สูงสุด 141 มิลลิเมตร มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน 328 ครัวเรือน ประชาชนได้รับความเสียหาย 1,065 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2022 เวลา 13:07 น. |
|
สัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนเกิด “พายุฤดูร้อน” เนื่องจากมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน รวมทั้งบริเวณ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-2 พ.ค. 65 ทำให้ในช่วงดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ 45 จังหวัด ทั้งนี้จากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งเดือนเมษายน 2565 ส่งผลให้มีปริมาณฝนรายเดือนมากกว่าปกติถึง 25% โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคเหนือ ละภาคกลางที่มีฝนมากกว่าปกติถึง 71% 37% และ 12% ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2022 เวลา 09:55 น. |
ประเทศไทยตอนบนเกิด “พายุฤดูร้อน” ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน และยังคงมีบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 เมษายน 2022 เวลา 13:37 น. |
ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีอุณหภูมิกลางแจ้งสูงสุดที่อ.โพทะเล จ.พิจิตร 44 องศาเซลเซียส (16 เม.ย. 65) อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง 43.5 องศาเซลเซียส (17 เม.ย. 65) และอ.แม่สะเรียง จ. แม่ฮ่องสอน 44.1 องศาเซลเซียส (18 เม.ย. 65) ประกอบกับในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. 65 มีบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ในช่วงวันที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่งผลกระทบในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ลำพูน สกลนคร มหาสารคาม อุดรธานี ชัยภูมิ นครนายก ปราจีนบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง โดยเฉพาะบริเวณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่มีลมกระโชกแรงและเกิดพายุลูกเห็บตกหนักหลายพื้นที่ในวันที่ 17 เม.ย. 65
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 เมษายน 2022 เวลา 14:50 น. |
ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันออก โดยมีปริมาณฝน สะสม 3 วัน (3-5 เมษายน 2565) สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 307 มิลลิเมตรนครศรีธรรมราช 301 มิลลิเมตร ชุมพร 216 มิลลิเมตร สุราษฎร์ธานี 197 มิลลิเมตร และนราธิวาส 144 มิลลิเมตร ส่งผลให้วันที่ 5 เมษายน 2565 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ได้แก่ อำเภอดอนสักและอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 38 ครัวเรือน อำเภอควนขนุนและอำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 40 ครัวเรือน และอำเภอสิชล อำเภอขนอม และอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายถึง 270 ครัวเรือน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2022 เวลา 16:44 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 18 จาก 85 |