การติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง - การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน |
หน้า 2 จาก 6
การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน ติดตามได้จากข้อมูลหลักๆ คือ สถานการณ์พายุ สภาพเมฆฝน แผนที่อากาศ คลื่นทะเล และสถานการณ์ฝน หรือสภาพอากาศอื่นๆ ที่ตรวจวัดด้วยสถานีภาคพื้นดิน ภาพที่ 3 ภาพเส้นทางพายุ โดย University College London
2)ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 แสดงกลุ่มเมฆบริเวณประเทศไทย (ภาพที่ 4) หากมีกลุ่มเมฆกระจุกตัวกันอย่างหนาแน่นมากบริเวณใด โอกาสที่จะเกิดฝนในบริเวณนั้นก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ภาพที่ 4 ภาพถ่ายจากดาวเทียม FGOES9 โดย Kochi University
3)ภาพแผนที่อากาศ แสดงแนวความกดอากาศสูง หรือแสดงตัว “H” ซึ่งบ่งบอกถึงความหนาวเย็นและอากาศแห้ง และแนวความกดอากาศต่ำ หรือแสดงตัว “L” ซึ่งบ่งบอกถึงความร้อนและอากาศชื้น (ภาพที่ 5) แสดงเวลาเป็น GMT ภาพที่ 5 ภาพแผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
4)แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล แสดงความสูงและทิศทางของคลื่นในทะเลบริเวณต่างๆ (ภาพที่ 7) โดยบริเวณใดที่มีกลุ่มคลื่นสูงต่างจากบริเวณใกล้เคียง บริเวณนั้นมักจะมีฝนฟ้าคะนองหรือพายุเกิดขึ้น ภาพที่ 6 แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล โดย Ocean Weather inc.
5)ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถานีภาคพื้นดิน ได้แก่ ข้อมูลจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ของ สสนก. แสดงข้อมูลปริมาณฝน 24 ชม. และข้อมูลย้อนหลัง (ภาพที่ 7) และข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงข้อมูลปริมาณฝนอุณหภูมิ ความเข้มแสง ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม (ภาพที่ 8)
ภาพที่ 7 ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ โดย สสนก. ภาพที่ 8 ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
|
||||||||
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2016 เวลา 14:24 น. |