Home งานวิจัย/ความรู้ ความรู้ทั่วไป การติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง - การใช้งานระบบ Internet GIS
การติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง - การใช้งานระบบ Internet GIS
ดัชนีบทความ
การติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง
การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน
การใช้งานระบบ Internet GIS
หน่วยงานและแหล่งข้อมูลเตือนภัย
ภาคผนวก ก: เกณฑ์และความหมาย
ภาคผนวก ข: กรณีตัวอย่าง
ทุกหน้า

การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ติดตามสภาพอากาศผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net

 

หลังจากที่ทราบหลักการใช้ข้อมูลแต่ละประเภทในการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้ว หากจะใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net ก็สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนี้

การเข้าสู่หน้าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

1.ไปที่หน้า http://www.thaiwater.net ดังภาพที่ 9

2.หากต้องการใช้แผนที่ขนาดใหญ่ ให้ Click ที่ Full map เพื่อเข้าสู่หน้า http://www.thaifloodwatch.net/igis/ จะทำให้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ดังแสดงผลตามภาพที่ 10

3.Click ที่ “ >> ” เพื่อเปิดหรือปิดเมนู ชั้นข้อมูล

 

ภาพที่ 9 หน้าหลักของเว็บไซต์ http://www.thaiwater.net

ภาพที่ 10 หน้าเว็บไซต์ http://www.thaifloodwatch.net/igis/

 

1.เมนูชั้นข้อมูล ซึ่งสามารถ click ที่ “+” เพื่อแสดงรายละเอียดของชั้นข้อมูลย่อย โดยเมนูชั้นข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลหลัก 7 ชั้นข้อมูล ได้แก่

1)แผนที่พื้นฐาน เป็นเมนูที่ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผลของแผนที่ในแต่ละประเภท เช่น แสดงผลในรูปแบบภาพถ่ายจากดาวเทียม การแบ่งเขตลุ่มน้ำ การแบ่งเขตจังหวัด เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 11 แสดงแผนที่พื้นฐานในรูปแบบ Google Satellite

ภาพที่ 11แสดงแผนที่พื้นฐานในรูปแบบ Google Satellite

2) โครงสร้างพื้นฐาน เป็นเมนูที่ใช้แสดงโครงสร้างพื้นฐานของแผนที่ เช่น ถนน ทางน้ำ ทางรถไฟ ลุ่มน้ำ ขอบเขตการปกครอง จากตัวอย่างในภาพที่ 12 เป็นการเลือกข้อมูลทางน้ำ และลุ่มน้ำ

ภาพที่ 12 การเลือกข้อมูลในชั้นของโครงสร้างพื้นฐาน

 

3) พื้นที่เสี่ยงภัย เป็นเมนูที่ใช้เลือกเพื่อแสดงผลบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 13 เป็นการเลือกแสดงผลพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในภาคเหนือและภาคใต้

ภาพที่ 13 การเลือกข้อมูลในชั้นของพื้นที่เสี่ยงภัย

 

4) ติดตามสถานการณ์น้ำ เป็นเมนูที่ข้อมูลที่ใช้ในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ประกอบด้วยเมนูย่อย 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลน้ำในเขื่อน ภาพถ่ายดาวเทียม และภาพจากแบบจำลอง

เมนูข้อมูลน้ำในเขื่อนแสดงตำแหน่งของเขื่อนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำล่าสุด ทั้งจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง โดยเป็นข้อมูลจากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถคลิกที่สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ตัวอย่างภาพที่ 14 เป็นการคลิกที่สัญลักษณ์ของเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 อยู่ที่ 4,902.00 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 36.41% ของความจุของอ่างเก็บน้ำ

ตัวอย่างข้อมูลในกลุ่มภาพถ่ายดาวเทียม ได้แก่ ภาพความชื้นในดินจากหน่วยงาน AFWA ดังแสดงในภาพที่ 15

 

ภาพที่ 14 แสดงรายละเอียดของสถานีตรวจวัดน้ำท่าของกรมชลประทาน

ภาพที่ 15 แสดงค่าความชื้นในดิน จาก AFWA

5) สถานีตรวจวัดระดับน้ำ เป็นเมนูที่ใช้แสดงผลข้อมูลจากสถานีตรวจวัดระดับน้ำในแม่น้ำและเส้นทางน้ำสำคัญของกรมชลประทาน และ สสนก. โดยสถานีตรวจวัดของ สสนก. จะมีทั้งข้อมูลระดับน้ำและข้อมูลด้านภูมิอากาศ (ฝน อุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ความเข้มแสง)

จากตัวอย่างในภาพที่ 16 เป็นการเลือกข้อมูลโดยคลิกจากสัญลักษณ์บนแผนที่ของ สถานีน่าน7 ต.งิ้วราย อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ที่มีระดับน้ำ 24.63 ม.รทก. ระดับน้ำอยู่ในสภาวะน้ำน้อย นอกจากนี้สามารถคลิกที่สัญลักษณ์กราฟเพื่อแสดงข้อมูลย้อนหลัง

ภาพที่ 16 แสดงการเตือนภัยน้ำท่วมของแต่ละสถานีตรวจวัดระดับน้ำของ สสนก.

 

6) สถานีตรวจวัดปริมาณฝน เมนูนี้ประกอบด้วยข้อมูลปริมาณฝนตรวจวัดจริงในหลายรูปแบบ คือ

  • ฝนย้อนหลัง 24 ชม. (ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่เวลาปัจจุบันย้อนหลังไป 24 ชม.)
  • ฝนวันนี้ (ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่เวลา 07.00 น. ของวันนี้จนถึงเวลาปัจจุบัน)
  • ฝนย้อนหลัง 1 วัน (ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่เวลา 07.00 น. ของเมื่อวาน จนถึงเวลา 07.00 น. ของวันนี้)

จากตัวอย่างในภาพที่ 17 เป็นการเลือกข้อมูลปริมาณฝนย้อนหลัง 1 วันจากสถานีกรมอุตุนิยมวิทยา โดยผู้ใช้สามารถคลิกที่ไอคอนบนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดของแต่ละสถานีได้ ตัวอย่างเป็นสถานีสุรินทร์ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 พบว่า ปริมาณฝนย้อนหลัง 1 วัน เท่ากับ 36 มิลลิเมตร

 

ภาพที่ 17 แสดงปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง 1 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

 

7)ข้อมูลน้ำในเขื่อน เป็นเมนูที่ใช้แสดงตำแหน่งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง โดยเป็นข้อมูลจากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถ click ที่สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม จากตัวอย่างในภาพที่ 18 แสดงข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยมีการ click ที่สัญลักษณ์ในแผนที่ ซึ่งแสดงรายละเอียดปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บปัจจุบันอยู่ที่ 6,926 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 51% เมื่อเทียบกับระดับกักเก็บ

 

2.เครื่องมือสำหรับเลื่อนแผนที่ สามารถเลื่อนจากซ้ายไปขวา และจากบนไปล่าง

ภาพที่ 18 แสดงเครื่องมือการใช้งานแผนที่

 

3. เครื่องมือสำหรับย่อขยายแผนที่ อาจเลือกใช้เครื่องมือบนแผนที่หรือใช้การเลื่อน scroll ที่เมาส์ก็ได้

ภาพที่ 19 ภาพก่อนและหลังการใช้เครื่องมือย่อขยายแผนที่

 

4.เครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่อย่างอิสระ โดยนำเมาส์ไปวางในบริเวณกรอบสีแดง click เมาส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนเมาส์แบบอิสระ แผนที่จะเคลื่อนย้ายตามการเคลื่อนย้ายเมาส์

ภาพที่ 20 การใช้เครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่อย่างอิสระ

 

ตัวอย่างการใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละชั้นข้อมูล

จากภาพที่ 21 เป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างข้อมูลปริมาณฝนย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากสถานีตรวจวัดของกรมชลประทาน และ AIS กับข้อมูลภาพเมฆจากเมนูชั้นข้อมูลติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อใช้วิเคราะห์ปริมาณฝนที่ตกและปริมาณเมฆที่เกิดขึ้น ช่วยในการสอบยันว่าฝนที่ตกในแต่ละพื้นที่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่

ภาพที่ 21 การใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละชั้นข้อมูล

 

 

 



แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2016 เวลา 14:24 น.
 
Home งานวิจัย/ความรู้ ความรู้ทั่วไป การติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง - การใช้งานระบบ Internet GIS