ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดลงมาปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมาเกิดพายุฤดูร้อน ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศมีกำลังแรงขึ้น ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคุลมอ่าวไทยและภาคใต้ก็ทวีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 24 มี.ค. 61 ความกดอากาศสูงเริ่มอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนที่พัดปกคุลมภาคเหนือตอนบนและลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมาพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนอีกครั้ง ในช่วงวันที่ 26 มี.ค. 61 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้าและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี 93 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 53 มิลลิเมตร และระนอง 52 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2018 เวลา 18:30 น. |