ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลอันดามันเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมอ่าวเมาะตะมะ ทำให้มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามา จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนอีกระลอกแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 3 พ.ค. 61 ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงอย่างต่อเนื่องในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันพัดสอบลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย หลังจากนั้นอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 3 พ.ค. 61 ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. 61 แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนภาคใต้กระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 146 มิลลิเมตร จังหวัดกระบี่ 124 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 122 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 พฤษภาคม 2018 เวลา 16:45 น. |