สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้มายังประเทศไทยตอนบน จากนั้นเริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 28 มี.ค. 62 แต่กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 กม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองลมกระโชก หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่ลงมายังประเทศไทยอีกครั้ง ในวันที่ 29 มี.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ 31 มี.ค. 62 ส่วนลมตะวันออกยังคงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในบางแห่ง หลังจากนั้นในวันที่ 28 มี.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงเหนือลงมาพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ภาคใต้กลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 130 มิลลิเมตร และจังหวัดขอนแก่น 102 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 เมษายน 2019 เวลา 08:57 น. |