Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2565 (ระหว่างวันที่ 19-25 เม.ย. 65)

ประเทศไทยตอนบนเกิด “พายุฤดูร้อน” ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน และยังคงมีบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร

Attachments:
Download this file (20220425_Predict_SendRid.pdf)20220425_Predict_SendRid.pdf[ ]4779 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 เมษายน 2022 เวลา 13:37 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2565 (ระหว่างวันที่ 12-18 เม.ย. 65)

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีอุณหภูมิกลางแจ้งสูงสุดที่อ.โพทะเล จ.พิจิตร 44 องศาเซลเซียส (16 เม.ย. 65) อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง 43.5 องศาเซลเซียส (17 เม.ย. 65) และอ.แม่สะเรียง จ. แม่ฮ่องสอน 44.1 องศาเซลเซียส (18 เม.ย. 65) ประกอบกับในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. 65 มีบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ในช่วงวันที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่งผลกระทบในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ลำพูน สกลนคร มหาสารคาม อุดรธานี ชัยภูมิ นครนายก ปราจีนบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง โดยเฉพาะบริเวณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่มีลมกระโชกแรงและเกิดพายุลูกเห็บตกหนักหลายพื้นที่ในวันที่ 17 เม.ย. 65

Attachments:
Download this file (20220418_Predict_SendRid.pdf)20220418_Predict_SendRid.pdf[ ]4953 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 เมษายน 2022 เวลา 14:50 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2565 (ระหว่างวันที่ 5-11 เม.ย. 65)

ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันออก โดยมีปริมาณฝน สะสม 3 วัน (3-5 เมษายน 2565) สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 307 มิลลิเมตรนครศรีธรรมราช 301 มิลลิเมตร ชุมพร 216 มิลลิเมตร สุราษฎร์ธานี 197 มิลลิเมตร และนราธิวาส 144 มิลลิเมตร ส่งผลให้วันที่ 5 เมษายน 2565 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ได้แก่ อำเภอดอนสักและอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 38 ครัวเรือน อำเภอควนขนุนและอำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 40 ครัวเรือน และอำเภอสิชล อำเภอขนอม และอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายถึง 270 ครัวเรือน

Attachments:
Download this file (20220411_Predict_SendRid.pdf)20220411_Predict_SendRid.pdf[ ]4670 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2022 เวลา 16:44 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2565 (ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.-4 เม.ย. 65)

ช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 65 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะในช่วงเที่ยงของวันที่ 2 เม.ย. 65 บริเวณปากช่อง จังหวัดนครราชสีมามีอุณหภูมิ 17.5 องศาเซลเซียส และวันที่ 3 เม.ย. 65 กรุงเทพมหานครมีอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส ซึ่งเย็นกว่าเชียงใหม่ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยอากาศเย็นครั้งนี้เกิดไล่มาตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ลงสู่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยตอนบนอากาศเย็นลง ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 65 มาจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากการอ่อนกำลังของกระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ที่ทำให้มวลอากาศเย็นบริเวณขั้วโลกไหลเข้ามาในบริเวณประเทศจีนมากขึ้น ประกอบกับลมตะวันออก (ลมค้า) ที่มีกำลังแรงช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้กระจายมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก จากอิทธิพลข้างต้น ส่งผลให้ในช่วงวนที่ 2-3 เม.ย. 65 ประเทศไทยเกิดฝนตกหนัก น้ำหลากที่น้ำตกแม่กลาง และน้ำล้นเอ่อจากคลองคูไหวท่วมบ้านเรือน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ส่วนภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทั้งภาคใต้และทะเลอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ส่งผลให้วันที่ 2 เม.ย. 65 เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่คลองมุย และบ้านบางจำ ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี

Attachments:
Download this file (20220404_Predict_SendRid.pdf)20220404_Predict_SendRid.pdf[ ]3839 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 07 เมษายน 2022 เวลา 11:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2565 (ระหว่างวันที่ 22-28 มี.ค. 65)

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอล ทำให้ลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ใน ช่วงวันที่ 23-27 มีนาคม 2565 ประเทศไทยเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึง หนักมาก และมีลูกเห็บตกในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กําแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท ร้อยเอ็ด อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร ชัยภูมิ กระบี่ นครศรีธรรมราช และยะลา โดยวันที่ 27 มีนาคม 2565 อำเภอเมืองร้อยเอ็ดและอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดฝนตกหนักและพายุลูกเห็บพัดถล่ม บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายถึง 45 หลังคาเรือน เช่นเดียวกับอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และเทศบาลเมืองเบตง ตำบลตาเนาะแมเราะ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก โดยสามารถวัดฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุดที่จังหวัดยะลา 65.5 มิลลิเมตร มุกดาหาร 37.2 มิลลิเมตร และจังหวัดร้อยเอ็ด 36.7 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20220328_Predict_SendRid.pdf)20220328_Predict_SendRid.pdf[ ]4595 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2022 เวลา 13:30 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 14 จาก 81
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง