Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2564 (ระหว่างวันที่ 8-14 มิ.ย. 64)

จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โคะงุมะ” ในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. 64 ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ โดยสถานีโทรมาตรอัตโนมัติภายใต้คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง (ณ วันที่ 14 มิ.ย. 64) สูงสุด ที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 250 มม. อ.เชียงกลาง จ.น่าน 240 มม. และอ.ปง จ.พะเยา 205 มม. ทำให้ในวันที่ 14 มิ.ย. 64 ระดับน้ำแม่น้ำน่าน บริเวณอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เพิ่มสูงขึ้น 5 เมตร ภายในเวลา 14 ชั่วโมง และแม่น้ำเงิน บริเวณอำเภอปง จังหวัดพะเยา เพิ่มสูงขึ้น 2 เมตร ภายในเวลา 11 ชั่วโมง และระดับน้ำทั้งสองสายยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

Attachments:
Download this file (20210614_Predict_SendRid.pdf)20210614_Predict_SendRid.pdf[ ]3878 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2021 เวลา 10:25 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2564 (ระหว่างวันที่ 1-7 มิ.ย. 64)

เดือนพฤษภาคม 2564 มีปริมาณฝนเฉลี่ยเพียง 130 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติ 31% โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ 78 มม. (-44%) 61 มม. (-38%) และ 61 มม.(-33%) ตามลำดับ ทำให้เดือนพฤษภาคมมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือ 385 ล้าน ลบ.ม. และ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพียง 280 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าเดือนเมษายนที่ผ่านมา 70 ล้าน ลบ.ม. และปัจจุบัน(7 มิ.ย. 64) มีปริมาณน้ำใช้การเพียง 1,426 ล้าน ลบ.บ. ซึ่งหากเทียบกับวันเดียวกันของปีที่ฝนแล้งในอดีต พบว่า ปี 2564 มีปริมาณน้ำใช้การน้อยเป็นลำดับที่ 5 โดยปีที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยสุดคือ ปี 2553 และ 2563 ที่มีน้ำใช้การเท่ากันคือ 1,158 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือ ปี 2556 และปี 2559 ซึ่งมีน้ำใช้การ 1,340 ล้าน ลบ.ม. และ1,389 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ แม้ว่าปีนี้ปริมาณน้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่ได้น้อยที่สุด แต่อาจส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำได้มากกว่าปีอื่นๆ เนื่องจากเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวนาปี ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ย และมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ถึง 3 ล้านไร่ ซึ่งปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาอาจมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้

Attachments:
Download this file (20210607_Predict_SendRid.pdf)20210607_Predict_SendRid.pdf[ ]3906 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 มิถุนายน 2021 เวลา 16:56 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2564 (ระหว่างวันที่ 25-31 พ.ค. 64)

จากอิทธิพลของพายุไซโคลน “ยาอาส” ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมไปถึงภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตก ทำให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันบริเวณพื้นที่ตำบลเกาะช้างและตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. 64

Attachments:
Download this file (20210531_Predict_SendRid.pdf)20210531_Predict_SendRid.pdf[ ]4057 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 มิถุนายน 2021 เวลา 13:22 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2564 (ระหว่างวันที่ 18-24 พ.ค. 64)

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัวตามประกาศของทางกรมอุตุนิยิมวิทยา และมีรายงานฝนตกหนักในหลายพื้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อันเนื่องมาจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย โดยที่บริเวณจังหวัดเชียงรายสภาพดินมีความชุ่มน้ำจากฝนที่ตกในช่วงก่อนหน้าแล้ว และในวันที่ 18 พ.ค. 64 โทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติบริเวณดอยมด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย วัดปริมาณฝนได้ 75 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า และที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกหนักในวันที่ 19 พ.ค. 64 ซึ่งโทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติบริเวณคลองแสนแสบวัดปริมาณฝนได้ 70 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังบนถนนหลายสาย เช่น ถนนสุขุมวิท พลับพลาไชย ราชดำเนิน และพระราม 4

Attachments:
Download this file (20210524_Predict_SendRid.pdf)20210524_Predict_SendRid.pdf[ ]3822 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 01 กรกฏาคม 2021 เวลา 09:29 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2564 (ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ค. 64)

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยโทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติวัดปริมาณฝนรายวันที่ตกมากกว่า 70 มิลลิเมตร ได้บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ เลย ราชบุรี ชลบุรี เพชรบุรี สงขลา นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ส่งให้ในวันที่ 11 พ.ค. 64 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลากในหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และในวันที่ 12 พ.ค. 64 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลากบริเวณตำบลบาโหยและตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ประเทศไทยได้ประกาศสิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ “ฤดูฝน” ในวันที่ 15 พ.ค. 64

Attachments:
Download this file (20210517_Predict_SendRid.pdf)20210517_Predict_SendRid.pdf[ ]3823 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2021 เวลา 14:13 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 19 จาก 81
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง