Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2565 (ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.-4 เม.ย. 65)

ช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 65 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะในช่วงเที่ยงของวันที่ 2 เม.ย. 65 บริเวณปากช่อง จังหวัดนครราชสีมามีอุณหภูมิ 17.5 องศาเซลเซียส และวันที่ 3 เม.ย. 65 กรุงเทพมหานครมีอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส ซึ่งเย็นกว่าเชียงใหม่ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยอากาศเย็นครั้งนี้เกิดไล่มาตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ลงสู่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยตอนบนอากาศเย็นลง ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 65 มาจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากการอ่อนกำลังของกระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ที่ทำให้มวลอากาศเย็นบริเวณขั้วโลกไหลเข้ามาในบริเวณประเทศจีนมากขึ้น ประกอบกับลมตะวันออก (ลมค้า) ที่มีกำลังแรงช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้กระจายมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก จากอิทธิพลข้างต้น ส่งผลให้ในช่วงวนที่ 2-3 เม.ย. 65 ประเทศไทยเกิดฝนตกหนัก น้ำหลากที่น้ำตกแม่กลาง และน้ำล้นเอ่อจากคลองคูไหวท่วมบ้านเรือน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ส่วนภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทั้งภาคใต้และทะเลอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ส่งผลให้วันที่ 2 เม.ย. 65 เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่คลองมุย และบ้านบางจำ ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี

Attachments:
Download this file (20220404_Predict_SendRid.pdf)20220404_Predict_SendRid.pdf[ ]3839 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 07 เมษายน 2022 เวลา 11:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2565 (ระหว่างวันที่ 22-28 มี.ค. 65)

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอล ทำให้ลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ใน ช่วงวันที่ 23-27 มีนาคม 2565 ประเทศไทยเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึง หนักมาก และมีลูกเห็บตกในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กําแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท ร้อยเอ็ด อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร ชัยภูมิ กระบี่ นครศรีธรรมราช และยะลา โดยวันที่ 27 มีนาคม 2565 อำเภอเมืองร้อยเอ็ดและอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดฝนตกหนักและพายุลูกเห็บพัดถล่ม บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายถึง 45 หลังคาเรือน เช่นเดียวกับอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และเทศบาลเมืองเบตง ตำบลตาเนาะแมเราะ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก โดยสามารถวัดฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุดที่จังหวัดยะลา 65.5 มิลลิเมตร มุกดาหาร 37.2 มิลลิเมตร และจังหวัดร้อยเอ็ด 36.7 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20220328_Predict_SendRid.pdf)20220328_Predict_SendRid.pdf[ ]4595 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2022 เวลา 13:30 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2565 (ระหว่างวันที่ 15-21 มี.ค. 65)

ตั้งแต่วันที่ช่วงวันที่ 15-18 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (5.5 กม. เหนือพื้นดิน) ที่พัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังแรงขึ้น และประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีความชื้นที่ถูกพัดเข้ามาจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสามารถวัดฝนสะสมสูงสุดได้ที่จังหวัดชลบุรี 136 มิลลิเมตร รองลงมาคือ จังหวัดน่าน 125 มิลลิเมตร และจังหวัดจันทบุรี 123 มิลลิเมตร ส่งผลกระทบในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ กําแพงเพชร ลําปาง เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุทัยธานี และชัยนาท

Attachments:
Download this file (20220321_Predict_SendRid.pdf)20220321_Predict_SendRid.pdf[ ]4527 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2022 เวลา 20:11 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2565 (ระหว่างวันที่ 8-14 มี.ค. 65)

พายุฤดูร้อน” ในช่วงวันที่ 6-8 มีนาคม 2565 โดยบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและมีความชื้นที่พัดเข้ามาจากลมใต้ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 6 มีนาคม 2565 มีพายุลูกเห็บตกในรอบ 30 ปี ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 50 หลัง และในวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีลูกเก็บตก ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบริเวณบ้านแม่ตะละ ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจำนวน 319 หลัง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสามารถวัดปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 127 มิลลิเมตร เลย 113 มิลลิเมตร ตาก 97.5 มิลลิเมตร อุดรธานี 97 มิลลิเมตร ตราด 91.4 มิลลิเมตร เพชรบูรณ์ 86.5 มิลลิเมตร หนองคาย 85 มิลลิเมตร แพร่ 84.5 มิลลิเมตร สระแก้ว 83.5 มิลลิเมตร และฉะเชิงเทรา 82 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20220314_Predict_SendRid.pdf)20220314_Predict_SendRid.pdf[ ]4611 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2022 เวลา 16:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2565 (ระหว่างวันที่ 1-7 มี.ค. 65)

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีฝนตกเฉลี่ย 83 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 5 เท่า หรือสูงที่สุดในรอบ 50 ปี โดยแต่ละภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ 5-6 เท่า โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกหนักจนทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนในเดือนกุมภาพันธ์มากถึง 420 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากที่สุดฅในรอบ 10 ปี และวันที่ 2 มี.ค. 65 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการและจากข้อมูลตรวจวัดสภาพอากาศสถานีโทรมาตรของสสน. พบว่า ตั้งแต่วันที่ 2-7 มี.ค. 65 ประเทศไทยมีอุณหภูมิกลางแจ้งสูงมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะวันที่ 5 มี.ค. 65 ที่มีอุณหภูมิร้อนจัด (อุณหภูมิมากกว่า 40 องศาเซลเซียส) บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 44 องศาเซลเซียส บริเวณจังหวัดแพร่และลำปางและจากคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. 65 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เนื่องจากจากบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทั้งนี้ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และสามารถดูรายงานเก่าๆ ย้อนหลังได้ที่ http://www.thaiwater.net/report

Attachments:
Download this file (20220307_Predict_SendRid.pdf)20220307_Predict_SendRid.pdf[ ]4328 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 มีนาคม 2022 เวลา 22:05 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 17 จาก 84
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง