Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2565 (ระหว่างวันที่ 23-29 ส.ค. 65)

อิทธิพลของร่องมรุสมที่เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และลมมรุสมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของพายุ “หมาอ๊อน” ที่แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. 65 โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 3 วัน ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี 185 มิลลิเมตร ลำปาง 146 มิลลิเมตร และระยอง 144 มิลลิเมตร และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดลําปาง ตาก อุบลราชธานี อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา เลย จันทบุรี สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรี กระบี่ และภูเก็ต รวมพื้นที่ 39 อำเภอ 141 ตำบล และ 571 หมู่บ้าน มีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 19,077 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามปริมาณฝนที่ตกหนัก ทำให้ในช่วงวันที่ 24-29 ส.ค. 65 เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทย มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนภูมิพลที่มีน้ำไหลเข้าเกิน 200 ล้านลูกบาศก์เมตร

Attachments:
Download this file (20220829_Predict_SendRid.pdf)20220829_Predict_SendRid.pdf[ ]4777 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2022 เวลา 16:30 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2565 (ระหว่างวันที่ 16-22 ส.ค. 65)

ประเทศไทยมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 20-21 ส.ค. 65 โดยมีปริมาณฝนสะสม 2 วัน สูงสุด ที่จังหวัดขอนแก่น 143 มิลลิเมตร รองลงมาคือ เพชรบูรณ์ 126 มิลลิเมตร และอำนาจเจริญ 112 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง รวมพื้นที่เสียหาย 28 อำเภอ 95 ตำบล 339 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 6,227 ครัวเรือน

Attachments:
Download this file (20220822_Predict_SendRid.pdf)20220822_Predict_SendRid.pdf[ ]4293 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2022 เวลา 17:48 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2565 (ระหว่างวันที่ 9-15 ส.ค. 65)

อิทธิพลของพายุโซนร้อน “มู่หลาน” (MULAN) ในช่วงวันที่ 9-11 ส.ค. 65 ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 241 มิลลิเมตร ตราด 213 มิลลิเมตร นครพนม 211 มิลลิเมตร อุบลราชธานี 208 มิลลิเมตร และน่าน 206 มิลลิเมตร ส่งผลให้ในระหว่างวันที่ 7-15 ส.ค. 65 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครพนม เลย ขอนแก่น มหาสารคาม นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

Attachments:
Download this file (20220815_Predict_SendRid.pdf)20220815_Predict_SendRid.pdf[ ]4523 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2022 เวลา 09:36 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2565 (ระหว่างวันที่ 2-8 ส.ค. 65)

ตั้งแต่ช่วงวันที่ 5-8 ส.ค. 65 ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เนื่องมาจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ซึ่งวัดปริมาณฝนสะสม 4 วัน สูงสุดได้ที่จังหวัดตราด สูงถึง 371 มิลลิเมตร จันทบุรี 276 มิลลิเมตร และหนองคาย 175 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังบริเวณจังหวัดเชียงราย ลําปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์เลย มหาสารคาม ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด รวม 17 อำเภอ 35 ตำบล 96 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 362 ครัวเรือน

Attachments:
Download this file (20220808_Predict_SendRid.pdf)20220808_Predict_SendRid.pdf[ ]4693 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 สิงหาคม 2022 เวลา 17:11 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2565 (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. 65)

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และทะเลอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

Attachments:
Download this file (20220801_Predict_SendRid.pdf)20220801_Predict_SendRid.pdf[ ]4338 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 สิงหาคม 2022 เวลา 14:09 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 12 จาก 81
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง