Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์2561
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์2561
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2561 (ระหว่างวันที่ 16-22 ต.ค. 61)

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นลงและมีฝนตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวไทยในวันที่ 19 ต.ค. 61 และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 20 ต.ค. 61 และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมอ่าวเมาะตะมะ ประเทศเมียนมาร์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 61 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสตูล 155 มิลลิเมตร อุทัยธานี 148 มิลลิเมตร และตราด 142 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20181022_predict_SendRid.pdf)20181022_predict_SendRid.pdf[ ]4195 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 08 พฤศจิกายน 2018 เวลา 08:42 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2561 (ระหว่างวันที่ 9-15 ต.ค. 61)

ในช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและร่องมรสุมบริเวณภาคใต้เลื่อนลงไปพาดผ่านประเทศมาเลเซีย ประกอบกับพายุไซโคลน “ตีตลี” บริเวณอ่าวเบงกอลทวีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนองบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและด้านตะวันตกของภาคกลาง ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลงและมีอากาศเย็นลงในตอนเช้า ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 96 มิลลิเมตร สตูล 77 มิลลิเมตร และสมุทรปราการ 76 มิลลิเมตร สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 18,884 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 12,188 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการน้ำเฉลี่ยในฤดูแล้งรวมไปถึงช่วงฤดูฝนของปี 2562

Attachments:
Download this file (20181015_predict_SendRid.pdf)20181015_predict_SendRid.pdf[ ]4205 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2018 เวลา 17:45 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2561 (ระหว่างวันที่ 2-8 ต.ค. 61)

ในวันที่ 2-8 ต.ค. 61 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ร่องมรสุมบริเวณตอนกลางของประเทศ เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้สัปดาห์นี้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง ส่วนภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ และลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 193 มิลลิเมตร ตราด 173 มิลลิเมตร และเพชรบุรี 166 มิลลิเมตร สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 56,679 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 80% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 33,136 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา (103%) และเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 18,674 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 11,978 ล้านลูกบาศก์เมตร

Attachments:
Download this file (20181008_predict_SendRid.pdf)20181008_predict_SendRid.pdf[ ]4138 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 ตุลาคม 2018 เวลา 14:40 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2561 (ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.-1 ต.ค. 61)

ช่วงต้นสัปดาห์ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ และมีปริมาณฝนลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ และมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ และมีฝนลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 174 มิลลิเมตร อุดรธานี 136 มิลลิเมตร และพัทลุง 118 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 55,862 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 32,319 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บ 80-100% มี 13 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ (86%) เขื่อนกิ่วคอหมา (94%) เขื่อนลำตะคอง (86%) เขื่อนน้ำอูน (99%) เขื่อนศรีนครินทร์ (91%) เขื่อนวชิราลงกรณ (89%) เขื่อนหนองปลาไหล (84%) เขื่อนคลองสียัด (88%) เขื่อนขุนด่านปราการชล (94%) เขื่อนประแสร์ (92%) และเขื่อนนฤบดินทรจินดา (93%) เขื่อนแก่งกระจาน (92%) และเขื่อนรัชชประภา (85%) ส่วนเขื่อนที่มีน้ำน้อยวิกฤต มี 2 เขื่อน ได้แก่เขื่อนแม่มอก (27%) และเขื่อนทับเสลา (27%)

Attachments:
Download this file (20181001_predict_SendRidy.pdf)20181001_predict_SendRidy.pdf[ ]4141 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 ตุลาคม 2018 เวลา 14:14 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2561 (ระหว่างวันที่ 17-24 ก.ย. 61)

ในวันที่ 18-21 ก.ย.61 พายุดีเปรสชั่นบริเวณประเทศจีนได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมบริเวณประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอล เหนี่ยวนำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง หลังจากนั้นช่วงวันที่ 22-24 ก.ย. 61 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ 180 มิลลิเมตร นครนายก 153 มิลลิเมตร และขอนแก่น 147 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 55,690 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 32,147 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (101%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 54 วัน และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บ 80-100% มี 11 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ (85%) เขื่อนกิ่วคอหมา (94%) เขื่อนลำตะคอง (85%) เขื่อนศรีนครินทร์ (92%) เขื่อนวชิราลงกรณ (91%) เขื่อนคลองสียัด (83%) เขื่อนขุนด่านปราการชล (90%) เขื่อนประแสร์ (85%) เขื่อนนฤบดินทรจินดา (90%) เขื่อนแก่งกระจาน (96%) และเขื่อนรัชชประภา (86%) ส่วนเขื่อนที่มีน้ำน้อยวิกฤต มี 2 เขื่อน ได้แก่เขื่อนแม่มอก (27%) และเขื่อนทับเสลา (26%) และเขื่อนขนาดใหญ่ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 17,917 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 11,221 ล้านลูกบาศก์เมตร

Attachments:
Download this file (20180924_predict_SendRid.pdf)20180924_predict_SendRid.pdf[ ]4155 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 กันยายน 2018 เวลา 11:50 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 3 จาก 11
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์2561