ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงที่คลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศอุ่นขึ้น ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบางแห่งจากนั้นฝนจะลดลง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศอุ่นขึ้นและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุซันปาในทะเลจีนได้เหนี่ยวนำให้กระแสลมตะวันออกพัดเข้าปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และภาคใต้ ส่งผลให้สัปดาห์นี้ ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีฝนตกปานกลางบริเวณจังหวัดชุมพรและนราธิวาส ในวันที่14 ก.พ. 61 นอกจากนี้ในวันที่ 19 ก.พ. 61 มีฝนตกปานกลางบริเวณจังหวัดจันทบุรีโดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 19 มิลลิเมตร จังหวัดกระบี่ 11 มิลลิเมตร และจังหวัดจันทบุรี 10 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2018 เวลา 17:21 น. |
|
ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลงและแนวฝนส่วนใหญ่เคลื่อนลงไปสู่ประเทศมาเลเซียตอนล่าง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีฝนตกเพียงเล็กน้อยกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ของจังหวัดชุมพรในวันที่ 6 ก.พ. 61 และจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 8 ก.พ. 61 โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 13 มิลลิเมตร จังหวัดชุมพร 11 มิลลิเมตร และจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2018 เวลา 15:23 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงและพัดปกคลุมถึงภาคกลางตอนล่างและปะทะกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงมีกำลังแรงขึ้นและแผ่ปกคลุมถึงภาคกลางตอนล่าง ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ทวีกำลังแรง แต่แนวฝนส่วนใหญ่จะลงไปสู่ประเทศมาเลเซียตอนล่าง ส่งผลให้สัปดาห์นี้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในบางพื้นที่ โดยในช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์มีฝนตกกระจุกตัวอยู่บริเวณจังหวัดพังงาและสุราษฎร์ธานี ส่วนช่วงปลายสัปดาห์มีฝนตกกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ตอนบนของภาค บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ส่วนภาคกลางมีฝนตกหนักบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. 61 ภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ปริมาณฝนลดลง สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 83 มิลลิเมตร จังหวัดตรัง 83 มิลลิเมตร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 76 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 07 กุมภาพันธ์ 2018 เวลา 09:41 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังอ่อนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและอันดามันตอนล่าง ทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นประกอบกับเกิดลมพัดสอบระหว่างลมตะวันออกเฉียงเหนือกับลมตะวันออกบริเวณภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างส่วนช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวไปยังประเทศศรีลังกา ทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ปริมาณฝนลดลง สำหรับตอนบนของประเทศมีฝนตกกระจายตัวในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างมีฝนตกหนักบริเวณกรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรีและตราด ในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. 61 โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 104 มิลลิเมตร จังหวัดภูเก็ต 85 มิลลิเมตร และจังหวัดระยอง 80 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 31 มกราคม 2018 เวลา 10:32 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวยังคงมีกำลังแรง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศกลับมามีกำลังแรงอีกครั้ง ทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์มีฝนตกกระจายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ โดยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวเกือบทุกจังหวัดครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป รวมถึงมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดพังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 130 มิลลิเมตร จังหวัดพัทลุง 95 มิลลิเมตร และจังหวัดนครศรีธรรมราช 88 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 31 มกราคม 2018 เวลา 10:30 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 10 จาก 11 |