ช่วงต้นสัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงและมีฝนลดลง ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุโทราจี ได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย. 61 พายุโซนร้อน “อุซางิ” (USAGI) ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่างบริเวณปลายแหลมญวน ต่อมาได้เคลื่อนเข้ามายังประเทศกัมพูชาและปะทะกับบริเวณความกดอากาศสูง ส่งผลให้ภาคใต้ของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 153 มิลลิเมตร พังงา 145 มิลลิเมตร และสตูล 76 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 06 ธันวาคม 2018 เวลา 11:55 น. |
|
สัปดาห์นี้ความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวขึ้นไปปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยตั้งแต่ตันสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ สำหรับลมตะวันออกที่พัดผ่านอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 234 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 108 มิลลิเมตร และสงขลา 134 มิลลิเมตร สำหรับพายุดีเปรสชัน “โทราจิ” อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และคาดว่าจะเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทยในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย. 61 ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และสุราษฏร์ธานี
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2018 เวลา 11:18 น. |
สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ของประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 61 และความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง ต่อมามีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 479 มิลลิเมตร ชุมพร 245 มิลลิเมตร และนครศรีธรรมราช 200 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2018 เวลา 17:37 น. |
สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ และค่อยๆ เลื่อนลงมาปกคลุมบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์และอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงกลางสัปดาห์และปริมาณฝนลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 278 มิลลิเมตร ปัตตานี 193 มิลลิเมตร และสงขลา 123 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 57,624 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 81% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 34,082 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา (108%) และเขื่อนหนองปลาไหล (101%)
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 08 พฤศจิกายน 2018 เวลา 10:12 น. |
สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทังสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดสอบกันบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในช่วงต้นสัปดาห์ ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวไทยเคลื่อนตัวจากอ่าวไทยผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนบนส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีฝนลดลงและมีอากาศเย็นลงในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 159 มิลลิเมตร กระบี่ 139 มิลลิเมตร และพังงา 109 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 57,759 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก และมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา(107%) และเขื่อนหนองปลาไหล(104%)
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 08 พฤศจิกายน 2018 เวลา 10:09 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 2 จาก 11 |