สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้มายังประเทศไทยตอนบน จากนั้นเริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 28 มี.ค. 62 แต่กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 กม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองลมกระโชก หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่ลงมายังประเทศไทยอีกครั้ง ในวันที่ 29 มี.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ 31 มี.ค. 62 ส่วนลมตะวันออกยังคงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในบางแห่ง หลังจากนั้นในวันที่ 28 มี.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงเหนือลงมาพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ภาคใต้กลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 130 มิลลิเมตร และจังหวัดขอนแก่น 102 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 เมษายน 2019 เวลา 08:57 น. |
|
สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์มีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในช่วงตั้งแต่กลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 102 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 78 มิลลิมตร และเพชรบุรี 73 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 27 มีนาคม 2019 เวลา 07:59 น. |
สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลง ส่วนลมตะวันออกกลับมาพัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ของประเทศ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมยังบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 14 มี.ค. 62 ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดลงมาพัดสอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 กม.) พัดลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 18 มี.ค. 62 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี 63 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 53 มิลลิเมตร และจังหวัดเลย 44 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2019 เวลา 11:23 น. |
สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนบริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่เกือบตลอดทั้งสัปดาห์ สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 46,606 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 66% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 23,063 ล้านลูกบาศก์เมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2019 เวลา 11:22 น. |
สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มจากทะเลจีนใต้ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดลงมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 28 ก.พ. 62 ลมตะวันออกที่ปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสกลนคร 55 มิลลิเมตร จังหวัดตาก 48 มิลลิเมตร และจังหวัดจันทบุรี 45 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 มีนาคม 2019 เวลา 09:42 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 36 จาก 85 |