สัปดาห์นี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่เคลื่อนตัวมาปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกปานกลางถึงหนักมากในบางแห่งช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. 62 โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา ระนอง สตูล กระบี่ ปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง นราธิวาส และชุมพร ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชุมพร 85 มิลลิเมตร นราธิวาส 67 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 45 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2019 เวลา 15:15 น. |
สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังแรงจากทะเลจีนใต้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับกระแสลมตะวันตกพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันลอยตัวขึ้นไปปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยและอ่าวไทยอ่อนกำลังลง ประกอบกับความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ยังคงมีสถานการณ์น้ำไหลหลากที่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฏร์ธานี ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 149 มิลลิเมตร นราธิวาส 91 มิลลิเมตร และลำปาง 65 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2019 เวลา 15:14 น. |
สัปดาห์นี้พายุโซนร้อน ปาบึก (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง เคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทยตอนล่าง และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านลงไปสู่ทะเลอันดามันและได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันที่ 6 ม.ค. 62 และได้เคลื่อนตัวห่างออกไปยังเกาะนิโคบาร์ แต่ยังคงมีกระแสลมพัดผ่านภาคใต้ตอนบนเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำ จากอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล พังงา กระบี่ ชุมพร ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 258 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 252 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 201 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2019 เวลา 15:15 น. |
สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ธ.ค. 61 ความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 114 มิลลิเมตร นราธิวาส 112 มิลลิเมตร สุราษฏร์ธานี 82 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 มกราคม 2019 เวลา 16:44 น. |