Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2562 (ระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม 62)

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้ประเทศไทยบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลอ่าวไทย ทำให้เกิดลมพัดสอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ของภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 168 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 156 มิลลิเมตร และจังหวัดพังงา 150 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20191007_predict_SendRid.pdf)20191007_predict_SendRid.pdf[ ]4122 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 ตุลาคม 2019 เวลา 10:51 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2562 (ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ย. 62)

ในช่วงวันที่ 24-30 ก.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบริเวณภาคใต้ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 30 ก.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาจากประเทศจีนเริ่มอ่อนกำลังลง ส่วนลมตะวันตกเฉียงหนือที่พัดปกคลุมด้านตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในด้านตะวันตก รวมทั้งภาคใต้ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี 145 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 93 มิลลิเมตร และ จังหวัดนราธิวาส 75 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190930_predict_SendRid.pdf)20190930_predict_SendRid.pdf[ ]3832 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 ตุลาคม 2019 เวลา 10:55 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2562 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ย. 62)

ในช่วงวันที่ 17-23 ก.ย. 62 อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 22-23 ก.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี 350 มิลลิเมตร จังหวัดบุรีรัมย์ 244 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 221 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190923_predict_SendRid.pdf)20190923_predict_SendRid.pdf[ ]4019 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 25 กันยายน 2019 เวลา 16:08 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2562 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.ย. 62)

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีร่องมรสุมพาดผ่านตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. -16 ก.ย. 62 โดยเริ่มมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ และร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง จนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่จนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 381 มิลลิเมตร จันทบุรี 198 มิลลิเมตร และพังงา 190 มิลลิเมตร

Attachments:
Download this file (20190916_predict_SendRid.pdf)20190916_predict_SendRid.pdf[ ]3954 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 17 กันยายน 2019 เวลา 14:43 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2562 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ย. 62)

ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 62 อิทธิพลของพายุโซนร้อน “คาจิกิ” ได้ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม ทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ตอนบนของประเทศมีฝนตกหนักถึงหนักมาก หลังจากที่พายุ “คาจิกิ” อ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในวันที่ 5 ก.ย. 62 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก็ได้อ่อนกำลังลง ในช่วงวันที่ 7 ก.ย. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางแห่งของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี 330 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 264 มิลลิเมตร และจังหวัดศรีสะเกษ 263 มิลลิเมตร ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในหลายเขื่อน จนทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นในหลายเขื่อน

Attachments:
Download this file (20190909_predict_SendRid.pdf)20190909_predict_SendRid.pdf[ ]4109 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 11 กันยายน 2019 เวลา 11:46 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 33 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง