สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงที่พัดปกคลุมภาคใต้และทะเลอ่าวไทยส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ส่วนพายุไต้ฝุ่น “คิมมูริ” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น “คิมมูริ” ในวันที่ 28 พ.ย. 62 และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 2 ธ.ค. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 454 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 190 มิลลิเมตร และจังหวัดพัทลุง 179 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 04 ธันวาคม 2019 เวลา 10:02 น. |
บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ และอ่อนกำลังลงในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. 62 ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 163 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 151 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 134 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2019 เวลา 17:59 น. |
สัปดาห์ที่ผ่านมาหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุ “นากรี” บริเวณประเทศกัมพูชา ซึ่งยังคงทำให้ความชื้นพัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 13 พ.ย. 62 ทำให้เกิดแนวปะทะกับความชื้นที่ปกคลุมอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. 62 หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีกระแสลมตะวันออกเฉียงเหนือกลับมาพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้อีกครั้ง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 96 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 96 มิลลิเมตร และจังหวัดยะลา 83 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2019 เวลา 17:18 น. |
วันที่ 5 พ.ย. 62 ร่องมรสุมพาดผ่านจากบริเวณอ่าวเบงกอล ภาคใต้ อ่าวไทย เข้าสู่พายุดีเปรสชันที่ทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลางตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนประเทศไทยตอนบนมีความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมในช่วงกลางสัปดาห์ส่งผลให้ช่วงดังกล่าวภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มขึ้นโดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวในช่วงกลางสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 194 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 166 มิลลิเมตร และจังหวัดพังงา 148 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2019 เวลา 10:58 น. |