Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2561 (ระหว่างวันที่ 17-24 ก.ย. 61)

ในวันที่ 18-21 ก.ย.61 พายุดีเปรสชั่นบริเวณประเทศจีนได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมบริเวณประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอล เหนี่ยวนำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง หลังจากนั้นช่วงวันที่ 22-24 ก.ย. 61 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ 180 มิลลิเมตร นครนายก 153 มิลลิเมตร และขอนแก่น 147 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 55,690 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 32,147 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (101%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 54 วัน และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บ 80-100% มี 11 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ (85%) เขื่อนกิ่วคอหมา (94%) เขื่อนลำตะคอง (85%) เขื่อนศรีนครินทร์ (92%) เขื่อนวชิราลงกรณ (91%) เขื่อนคลองสียัด (83%) เขื่อนขุนด่านปราการชล (90%) เขื่อนประแสร์ (85%) เขื่อนนฤบดินทรจินดา (90%) เขื่อนแก่งกระจาน (96%) และเขื่อนรัชชประภา (86%) ส่วนเขื่อนที่มีน้ำน้อยวิกฤต มี 2 เขื่อน ได้แก่เขื่อนแม่มอก (27%) และเขื่อนทับเสลา (26%) และเขื่อนขนาดใหญ่ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 17,917 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 11,221 ล้านลูกบาศก์เมตร

Attachments:
Download this file (20180924_predict_SendRid.pdf)20180924_predict_SendRid.pdf[ ]4155 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 กันยายน 2018 เวลา 11:50 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2561 (ระหว่างวันที่ 11-17 ก.ย. 61)

ช่วงต้นสัปดาห์มีร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนาม เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย หลังจากนั้นร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และตอนกลางของประเทศไทยในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนพายุดีเปรสชั่น “TWENTYSEVEN” บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “บารีจัต”(BARIJAT) ในวันที่ 11 ก.ย. 61 และเคลื่อนตัวผ่านเกาะไหหลำ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนาม ในวันที่ 13 ก.ย. 61 ส่วนพายุซุปเปอร์ไต้ฝุ่น “มังคุด”(MUNGKHUT) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ เคลื่อนที่ผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ในวันที่ 15 ก.ย. 61 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 16 ก.ย. 61 ส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน(103%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 47 วัน

Attachments:
Download this file (20180917_predict_SendRid.pdf)20180917_predict_SendRid.pdf[ ]4717 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 กันยายน 2018 เวลา 16:05 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2561 (ระหว่างวันที่ 4-10 ก.ย. 61)

ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสมุตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกหนักเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และบางพื้นที่ของภาคใต้ ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 54,404 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 77% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 30,862 ล้านลบ.ม. ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (105%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 40 วัน ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บ 548 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนแก่งกระจาน (102%) มีน้ำล้นเขื่อนตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 61 รวม 36 วัน ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บ 724 ล้าน ลบ.ม.

Attachments:
Download this file (20180910_predict_SendRid .pdf)20180910_predict_SendRid .pdf[ ]4532 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2018 เวลา 09:06 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2561 (ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.-3 ก.ย. 61)

ช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 151 มิลลิเมตร ตราด 147 มิลลิเมตร และนราธิวาส 106 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 16,382 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 9,686 ล้านลูกบาศก์เมตร

Attachments:
Download this file (20180903_predict_SendRid.pdf)20180903_predict_SendRid.pdf[ ]4719 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2018 เวลา 09:04 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2561 (ระหว่างวันที่ 21-27 ส.ค. 61)

ช่วงต้นสัปดาห์นี้ลมรมสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่อมาช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์และประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 52,876 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 75% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 29,333 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (110%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 26 วันและเขื่อนแก่งกระจาน (107%) มีน้ำล้นเขื่อนตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค. 61 รวม 21 วัน lสำหรับเขื่อนวชิราลงกรณถึงแม้ว่าน้ำจะไม่ล้นเขื่อน แต่มีปริมาณน้ำกักเก็บแล้วถึง 92% และมีการระบายน้ำผ่านทางระบายน้ำล้นตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 61

Attachments:
Download this file (20180827_predict_SendRid.pdf)20180827_predict_SendRid.pdf[ ]4694 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2018 เวลา 16:36 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 39 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง