สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนประเทศลาดและเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในแนวรับสมมรสุมและภาคเหนือตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 12 ส.ค. 62 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เลื่อนขึ้นไปพัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว และเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก เชียงราย น่าน พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บึงกาฬ สระบุรี สกลนคร กาญจนบุรี ชุมพร ระนอง พังงา สตูล สงขลา จันทบุรี ตราด และระยอง ในช่วงวันที่ 5-6 ส.ค. 62 และ 9-11 ส.ค. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 325 มิลลิเมตร จังหวัดกาญจนบุรี 238 มิลลิเมตร และจังหวัดชุมพร 187 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2019 เวลา 17:12 น. |
|
พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “วิภา” ในวันที่ 31 ก.ค. 62 และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ย เข้าสู่ประเทศเวียดนานตอนบนและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่ 4 ส.ค. 62 ส่งผลให้ด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งแนวรับลมด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ต่อมาในวันที่ 5 ส.ค. 62 มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศเวียดนามเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 249 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 248 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 06 สิงหาคม 2019 เวลา 19:25 น. |
สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังปานกลางในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์และอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคกลางมีฝนตกปานกลางในบางพื้นที่ ภาคใต้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีสถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต 20 เขื่อน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2019 เวลา 19:58 น. |
สัปดาห์นี้ในครึ่งแรกของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยตอนล่าง และอ่าวไทยมีกำลังแรงส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้มีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักหลายแห่ง ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนล่างอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนลดลง ในขณะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมควากดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 538 มิลลิเมตร พังงา 400 มิลลิเมตร และระนอง 225 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กรกฏาคม 2019 เวลา 18:00 น. |
สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในบางพื้นที่ หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 15 ก.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้งและมีฝนตกหนักในแนวรับลมมรสุม โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพและปริมณฑล กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กาญจนบุรี หนองคาย บึงกาฬ อำนาจเจริญ สุรินทร์ ชัยภูมิ อุดรธานี บุรีรัมย์ ตราด และจันทบุรี ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกปานกลางถึงหนักในบางพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส สตูล ยะลา และปัตตานี ส่วนภาคใต้ตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้้าและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 166 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 129 มิลลิเมตร และจังหวัดตาก 117 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กรกฏาคม 2019 เวลา 17:58 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 5 จาก 11 |