สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 ก.ม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกจากพายุฤดูร้อนในบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23 เม.ย. 62 หลังจากนั้นฝนจะลดลง เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 62 ต่อมาในช่วงวันที่ 26 เม.ย. 62 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้กลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่งตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเลย 91 มิลลิเมตร จังหวัดสกลนคร 84 มิลลิเมตร และจังหวัดชัยภูมิ 83 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 01 พฤษภาคม 2019 เวลา 10:22 น. |
|
สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีกระแสลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และกระแสลมตะวันตกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสตูล 76 มิลลิเมตร เพชรบุรี 68 มิลลิเมตร และน่าน 66 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 23 เมษายน 2019 เวลา 09:50 น. |
สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 ก.ม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกจากพายุฤดูร้อนในบางแห่ง ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. 62 หลังจากนั้นฝนจะลดลง ต่อมาในช่วงวันที่ 13 เม.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ส่วนภาคใต้ยังคงได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 105 มิลลิเมตร จังหวัดกระบี่ 76 มิลลิเมตร และจังหวัดศรีสะเกษ 69 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 เมษายน 2019 เวลา 08:55 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่จนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางแห่งในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์และปริมาณฝนลดลงฝนช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 103 มิลลิเมตร ตราด 99 มิลลิเมตร และนครราชสีมา 98 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 เมษายน 2019 เวลา 20:00 น. |
สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้มายังประเทศไทยตอนบน จากนั้นเริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 28 มี.ค. 62 แต่กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 กม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองลมกระโชก หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่ลงมายังประเทศไทยอีกครั้ง ในวันที่ 29 มี.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ 31 มี.ค. 62 ส่วนลมตะวันออกยังคงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในบางแห่ง หลังจากนั้นในวันที่ 28 มี.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงเหนือลงมาพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ภาคใต้กลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 130 มิลลิเมตร และจังหวัดขอนแก่น 102 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 เมษายน 2019 เวลา 08:57 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 8 จาก 11 |