วันที่ 2 ก.ค. 62 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “มูน” (MUN) เคลื่อนตัวผ่านเกาะไหลหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยและเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 4 ก.ค. 62 หลังจากนั้นพายุอ่อนกำลังลงจนเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 62 มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและประเทศลาวเข้าสู่พายุโซนร้อน “มูน” ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่รวมทั้งบริเวณภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ประเทศไทยมีฝนลดลงในหลายพื้นที่
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กรกฏาคม 2019 เวลา 17:45 น. |
|
สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร พะเยา ตาก กาญจนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ เลย ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี ตราด เพชรบุรี และราชบุรี ในช่วงวันที่ 24-30 มิ.ย. 62 ส่วนภาคใต้มีฝนตกลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต ในช่วงวันที่ 24-29 มิ.ย. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 349 มิลลิเมตร กาญจนบุรี 162 มิลลิเมตร และจันทบุรี 154 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 กรกฏาคม 2019 เวลา 10:38 น. |
ช่วงวันที่ 18-19 มิ.ย. 62 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และประเทศเวียดนามเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศกัมพูชาและอ่าวไทยตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ในตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 278 มิลลิเมตร จังหวัดสตูล 133 มิลลิเมตร และจังหวัดตรัง 113 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2019 เวลา 17:24 น. |
สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. 62 ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาพัดสอบกัน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย กาฬสินธุ์ หนองคาย นครราชสีมา ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งบริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบ โทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 241 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 203 มิลลิมตร และจังหวัดปัตตานี 174 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2019 เวลา 08:52 น. |
สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. 62 ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาพัดสอบกัน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย กาฬสินธุ์ หนองคาย นครราชสีมา ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งบริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบ โทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 241 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 203 มิลลิมตร และจังหวัดปัตตานี 174 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2019 เวลา 08:49 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 6 จาก 11 |