Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2564 (ระหว่างวันที่ 26 ต.ค.-1 พ.ย. 64)

สัปดาห์นี้บริเวณภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงมีฝนตกหนักมากบริเวณบริเวณจังหวัดสตูล 102 มิลลิเมตร กระบี่และภูเก็ต 95 มิลลิเมตร และทำให้ในวันที่ 30 ต.ค.64 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบริเวณอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์

Attachments:
Download this file (20211101_Predict_SendRid.pdf)20211101_Predict_SendRid.pdf[ ]3919 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 พฤศจิกายน 2021 เวลา 14:11 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2564 (ระหว่างวันที่ 19-25 ต.ค. 64)

ช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 64 เกิดน้ำป่าไหลหลากในบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลําปาง และอุตรดิตถ์ เนื่องจากมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 64 จากอิทธิพลของกระแสลมตะวันตกที่พัดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยมีปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดบริเวณจังหวัดพะเยา 129 มิลลิเมตร (22 ต.ค. 64) เชียงราย 102 มิลลิเมตร (21 ต.ค. 64) และเชียงใหม่ 84 มิลลิเมตร (21 ต.ค. 64)

Attachments:
Download this file (20211025_Predict_SendRid.pdf)20211025_Predict_SendRid.pdf[ ]4014 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2021 เวลา 16:16 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2564 (ระหว่างวันที่ 12-18 ต.ค. 64)

อิทธิพลของพายุโซนร้อน “คมปาซุ” (KOMPASU) ในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. 64 ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังเรงขึ้น และมีร่องมรสุมเลื่อนพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักและมีฝนตกหนักมาก บางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกตลอดสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 64 สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ จังหวัดตาก 160 มิลลิเมตร บุรีรัมย์ 134 มิลลิเมตร และสระแก้ว 129 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดตาก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ลพบุรี ปราจีนบุรี นครนายก และจันทบุรี จากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทยบริเวณภาเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มสูงขึ้น และวันที่ 18 ต.ค. 64 มีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุเขื่อน รวมทั้งสิ้น 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนหนองปลาไหล เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนทับเสลา เขื่อนแม่มอก เขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนกระเสียว

Attachments:
Download this file (20211018_Predict_SendRid.pdf)20211018_Predict_SendRid.pdf[ ]4326 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2021 เวลา 09:16 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2564 (ระหว่างวันที่ 5-11 ต.ค. 64)

พายุโซนร้อน “ไลออนร็อก” แม้ว่าจะไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลทางอ้อมต่อประเทศไทยในช่วงวันที่ 6-11 ต.ค. 64 ดังนี้ 1. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ฝนตกหนักบริเวณด้านตะวันตกของภาคใต้และภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 64 ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดพังงา จังหวัดชุมพร และสตูล 2. ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์ 3. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวที่สลายตัวจากพายุ ได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในวันที่ 10-11 ต.ค. 64

Attachments:
Download this file (20211011_Predict_SendRid.pdf)20211011_Predict_SendRid.pdf[ ]3843 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 12 ตุลาคม 2021 เวลา 15:17 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2564 (ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. - 4 ต.ค. 64)

สัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากระดับน้ำที่ล้นตลิ่งของแม่น้ำชีในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเริ่มลดลงแล้ว ปัจจุบันมวลน้ำได้เดินทางมาถึงจังหวัดขอนแก่น โดยมีระดับน้ำสูงสุดที่สถานี E.9 อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.04 เมตร ทั้งนี้มวลน้ำดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปตามแม่น้ำชีและไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี จึงควรเฝ้าติดตามระดับน้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้นและอาจล้นตลิ่งได้ในบางแห่งบริเวณพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำ ส่วนบริเวณลุ่มน้ำป่าสักยังคงมีระดับน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง ประกอบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงมีค่อนข้างมาก ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักลงไปได้มากนัก ส่งผลให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ในหลายพื้นที่

Attachments:
Download this file (20211004_Predict_SendRid.pdf)20211004_Predict_SendRid.pdf[ ]4246 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 ตุลาคม 2021 เวลา 16:38 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 21 จาก 85
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง