สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ลาว ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. 63 และเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนบนในวันที่ 8 ส.ค. 63 เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเวียดนามในวันที่ 10 ส.ค. 63 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลางในช่วงวันที่ 4-5 ส.ค. 63 ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ในช่วงดังกล่าว หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2020 เวลา 16:08 น. |
สัปดาห์นี้พายุโซนร้อน "ซินลากู" (SINLAKU) ที่อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเข้าสู่ประเทศไทยที่บริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 2 ส.ค. 63 ทําให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 1-3 ส.ค. 63 ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และดินสไลด์ในพื้นที่จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ลำปาง พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และนครพนม ได้รับผลกระทบ 1,399 ครัวเรือน โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุดในช่วงวันที่ 1-3 ส.ค. 63 คือ จ. น่าน 339 มิลลิเมตร จ.อุตรดิตถ์ 267 มิลลิเมตร และจ.พะเยา 231 มิลลิเมตร แม้ว่าสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ดังกล่าวยังทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ระหว่างก่อนเกิดอุทกภัยเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 63 และหลังจากเกิดอุทกภัยวันที่ 3 ส.ค. 63 พบว่าเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้าน ลบ.ม. เป็น 59 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิรินธร จาก 0.12 ล้าน ลบ.ม. เป็น 17 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนอุบลรัตน์จาก 0.24 ล้าน ลบ.ม. เป็น 12 ล้าน ลบ.ม.
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 04 สิงหาคม 2020 เวลา 21:55 น. |
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก วันที่ 21-22 ก.ค. 63 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเลย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชลบุรี และยังมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายแห่งในวันที่ 24 ก.ค. 63 นอกจากนี้ยังทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยายังคงมีน้ำกักเก็บอยู่ค่อนข้างน้อย โดยมีน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จริงเพียง 695 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 28 กรกฏาคม 2020 เวลา 09:17 น. |
สัปดาห์นี้เกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำป่าสัก ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 ครั้ง เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องบริเวณพื้นที่เหนือน้ำ และถึงแม้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ จนทำให้เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก แต่ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ก็ยังคงมีค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะบริเวณเขื่อนภูมิพล และเขื่อนอุบลรัตน์ ทั้งนี้ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีการระบายน้ำมากกว่าปริมาณไหลลงอ่างฯ อยู่ประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 21 กรกฏาคม 2020 เวลา 13:12 น. |