แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้คลี่คลายลงแล้วในหลายจังหวัด แต่ความชื้นในดินบริเวณภาคใต้ยังคงสูงอยู่ และเมื่อในวันที่ 13 ธ.ค. 63 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ ทำให้เมื่อเวลา 22:00 น. ของวันที่ 13 ธ.ค. 63 ภูเขาหินที่อุ้มน้ำไว้ได้พังทลายลงมาทับบ้านเรือนบริเวณบ้านวังยวน ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยสถานีฝายคลองท่าเลา อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช วัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 80 มิลลิมเตรต่อวัน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2020 เวลา 10:01 น. |
จังหวัดนครศรีธรรมราช น้ำท่วมหนักในรอบ 10 ปี เสียหายหนักเทียบเท่าปี 2553 และเสียหายมากกว่าปี 2554 ถึง 4 เท่า แต่ปริมาณฝนสะสมกลับน้อยกว่าปีดังกล่าว โดยสาเหตุเกิดจากการที่มีฝนตกต่อเนื่องในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. 2563 จึงส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้นและความชื้นในดินอิ่มตัว ก่อนที่จะมีฝนตกหนักอีกครั้งในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. ทำให้ปริมาณฝนระลอกที่ 2 ถูกเติมลงสู่พื้นที่เมืองนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่อง และจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระทบให้เกิดเป็นวงกว้างถึง 14 อำเภอ และสร้างความเสียหายถึง 153,832 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2020 เวลา 12:57 น. |
จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้บริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันทุกวัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 6 จังหวัด 38 อำเภอ 163 ตำบล และได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชนมากถึง 30,141 ครัวเรือน
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ธันวาคม 2020 เวลา 15:40 น. |
จากอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง โดยโทรมาตรอัตโนมัติของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำวัดปริมาณฝนตกสะสมที่สถานีหาดใหญ่ 103 มิลลิเมตร ในวันที่ 21 พ.ย. 63 และสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาที่สถานีอบต.พิจิตร 99 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 พ.ย. 63 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ อ.เมือง อ.หาดใหญ่ อ.สะเดา และอ.นาหม่อม จ.สงขลาในช่วงวันดังกล่าว
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2020 เวลา 15:31 น. |