สัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนบนของอ่าวเบงกอลในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวจนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศฟิลิปปินส์มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนในวันที่ 12 มิ.ย. 63 โดยพายุเคลื่อนที่ทางทิศเหนือและมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “นูรี” ในวันที่ 13 มิ.ย. 63 และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันพร้อมกับเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในวันที่ 14 มิ.ย. 63 และสลายตัวไปในวันที่ 15 มิ.ย. 63 ส่งผลให้ในช่วงปลายสัปดาห์ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 128 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 115 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 104 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2020 เวลา 12:02 น. |
|
สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากทะเลจีนใต้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทย ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 126 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 81 มิลลิเมตร และจังหวัดหนองคาย 69 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 08 มิถุนายน 2020 เวลา 17:37 น. |
สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมผาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์และลาวในวันที่ 26 พ.ค. 63 และร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่บริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 227 มิลลิเมตร จังหวัดหนองคาย 180 มิลลิเมตร และจังหวัดน่าน 163 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 มิถุนายน 2020 เวลา 11:28 น. |
สัปดาห์นี้อิทธิพลของพายุไซโคลน “อำพัน” ที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. 63 และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งและปกคลุมบริเวณชายฝั่งของประเทศอินเดียและบังคลาเทศในวันที่ 21 พ.ค. 63 ทำให้ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนและด้านตะวันตกของประเทศมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 183 มิลลิเมตร จังหวัดพังงา 126 มิลลิเมตร และจังหวัดนราธิวาส 123 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2020 เวลา 12:52 น. |
สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีอากาศร้อนและมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่างและมีฝนตกหนักขึ้นในช่วงวันที่ 7-8 พ.ค. 63 เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเกาะสุมาตราในช่วงดังกล่าว โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดกระบี่ 151 มิลลิเมตร จังหวัดพังงา 145 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 130 มิลลิเมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2020 เวลา 14:55 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 29 จาก 85 |