ในช่วงวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2564 เกิดฝนตกหนัก ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมไปถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้พบว่ามีลูกเห็บตกบริเวณดอยอินทนนท์และดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และในบางบริเวณของจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เนื่องจากอิทธิพลจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกที่เคลื่อนตัวผ่านบริเวณดังกล่าว
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 10:45 น. |
สัปดาห์นี้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลยังคงมีค่าความเค็มสูงเกินคุณภาพน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.5 กรัม/ลิตร ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2564 เนื่องจากการขึ้นลงของน้ำทะเลมีลักษณะที่ทำให้มีความเค็มสะสม ซึ่งได้ส่งผลให้น้ำประปามีรสกร่อยในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 14:59 น. |
สถิติใหม่ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลสูงถึง 2.53 กรัม/ลิตร ในวันที่ 30 ม.ค. 64 เวลา 20.40 ซึ่งเป็นค่าความเค็มสูงที่สุดตั้งแต่มีการตรวจวัด เนื่องจากการขึ้นลงของน้ำทะเลมีลักษณะที่ทำให้ความเค็มสะสม ประกอบกับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้เกิดน้ำทะเลหนุนสูง และส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลมีค่าความเค็มเกินเกณฑ์มาตรฐานการผลิตน้ำประปาตลอดทั้งสัปดาห์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 17:02 น. |
สัปดาห์นี้ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลยังคงเกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.5 กรัม/ลิตร เป็นระยะๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีค่าความเค็มสูงสุด 1.46 กรัม/ลิตร ในวันที่ 24 ม.ค. 64 เวลา 15.00 น. เนื่องจากลมใต้เริ่มพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยทำให้ระดับน้ำทะเลหนุนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเกินแผนไปแล้ว 2.5 ล้านไร่ ส่งผลให้ในวันที่ 25 ม.ค. 64 ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการระบายน้ำเกินจากแผนที่วางไว้ถึง 351 ล้านลูกบาศก์เมตร
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 มกราคม 2021 เวลา 10:40 น. |