จากการที่ปี 2554 มีฝนตกค่อนข้างมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่ง มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก โดยตลอดทั้งปีมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมรวมกันมากถึง 71,769 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนที่มากเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่เป็นตัวแปรสำคัญตัวแปรหนึ่ง ที่การระบายน้ำของทั้ง 3 เขื่อน มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง โดยในปี 2554 เขื่อนทั้ง 3 แห่ง มีปริมาณน้ำไหลลงค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2538 2549 ซึ่งเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในอดีต พบว่าปี 2554 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าในอดีตค่อนข้างมาก
เขื่อนส่วนใหญ่ของประเทศมีน้ำไหลเข้ามาก แต่กลับมีอุปสรรคในการระบายน้ำเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะปัญหาการเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อนจากการเกิดฝนตกหนักรวมถึงสภาวะน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ ส่งผลให้ในระหว่างปีมีเขื่อนถึง 21 แห่ง จาก 33 แห่ง ที่เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน (ปริมาณน้ำมากกว่าระดับกักเก็บปกติ) และถึงแม้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จะไม่เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนแต่ก็ต้องเร่งระบายน้ำผ่านทางน้ำล้น (spillway) ซึ่งไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยนักสำหรับ 2 เขื่อนนี้
ทั้งนี้ แม้เขื่อนต่าง ๆ จะมีอุปสรรคต่อการระบายน้ำเกิดขึ้น แต่ปริมาณน้ำมีมากเกินศักยภาพของเขื่อน จึงจำเป็นต้องถูกระบาย
ออกไป โดยมีการลดและเพิ่มการระบายเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยสรุปทั้งปีมีการระบายน้ำออกไปรวมกันทุกเขื่อนมากถึง 56,241 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกันกับปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปี
แม้จะระบายน้ำออกไปมาก แต่ปริมาณน้ำกักเก็บสิ้นปีรวมทุกเขื่อนยังคงเหลือมากถึง 61,097 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 87% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 37,591 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังคงมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้นอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปางเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ และเขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา และมีเขื่อนถึง 18 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
ช่วงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 45% ของความจุเขื่อน ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง ทำให้การระบายน้ำของเดือนนี้ค่อนข้างน้อย
เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่าง เริ่มเพิ่มมากขึ้นจากเดือนที่แล้ว แต่ยังคงมีปริมาณการระบายค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูฝนมีความต้องการใช้น้ำน้อย อีกทั้งเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง
ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม มีการระบายน้ำค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนมีความต้องการใช้น้ำน้อย และปริมาณน้ำกักเก็บมีเพียง 63% ของความจุเขื่อน
เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำไหลเข้าค่อนข้างมาก แต่เพิ่มอัตราการระบายน้ได้เพียงเล็กน้อยเนื่องจากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นในพื้นที่ตอนล่างของภาคเหนือและพื้นที่ตอนบนของภาคกลาง จากอิทธิพลของพายุนกเต็นและร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศ
กลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากอิทธิพลของพายุไห่ถาง เนสาด และนาลแก ทำให้ปริมาณน้ำเริ่มสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน จึงจำเป็นต้องระบายน้มากกว่าปกติ รวมทั้งต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (spillway) เพื่อรักษาความมั่นคงของเขื่อน
ช่วงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 50% ของความจุเขื่อน ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง ทำให้มีการระบายน้ำในเดือนนี้ค่อนข้างน้อย
เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเริ่มเพิ่มมากขึ้นจากเดือนที่แล้วเล็กน้อย แต่ยังคงมีปริมาณการระบายค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำค่อนข้างน้อย อีกทั้งเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง
ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุไหหม่าและร่องมรสุมที่พัดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง จึงต้องเพิ่มอัตราการระบายน้ำให้มากขึ้น
เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุนกเตนและร่องมรสุมที่พัดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ต้องเพิ่มอัตราการระบายมากกว่าปกติ และจำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (spillway) เพื่อความมั่นคงของเขื่อน
กลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ยังคงมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุไห่ถาง เนสาด และนาลแก ทำให้ต้องการระบายน้ำค่อนข้างมากในช่วงแรก และลดการระบายลงในช่วงเดือนตุลาคม
เนื่องจากปี 2554 มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี ซึ่งส่งผลทำให้เริ่มมีน้ำท่วมในพื้นที่ตอนบนของประเทศตั้งแต่ช่วงต้นปีและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงสิ้นปีสถานการณ์น้ำท่วมก็ยังคงมีเกิดขึ้นอยู่ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หลายเขื่อนมีน้ำไหลลงมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็น แต่กลับไม่สามารถระบายน้ำออกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อน
ในช่วงเวลาเดียวกัน จึงทำให้ต้องกักเก็บน้ำไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์น้ำท่วมมีความรุนแรงมากกว่าเดิม ซึ่งส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ 21 เขื่อนจาก 33 เขื่อนมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้น ซึ่งกระจายตัวอยู่เกือบทุกภาค มีเพียงเขื่อนในภาคใต้เท่านั้นที่ไม่มีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้น ทั้งนี้ เหตุการณ์น้ำล้นเขื่อนที่เกิดขึ้น มีหลายเขื่อนที่เกิดน้ำล้นยาวนานหลายเดือน โดยเขื่อนที่มีน้ำล้นเขื่อน
เกิดขึ้นต่อเนื่องเกิน 3 เดือน ประกอบด้วย เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ และเขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา ส่วนเขื่อนที่มีน้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้นติดต่อกันอยู่ในช่วง 1-3 เดือน ประกอบด้วย เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ เขื่อนน้ำพุงและเขื่อนน้ำอูน จ.อุดรธานี เขื่อนมูลบนและเขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
เขื่อน | ความจุที่ระดับสูงสุด (รนส.) (ล้าน ลบ.ม.) |
ความจุที่ระดับกักเก็บ (รนก.) (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำเกินความจุ รนก. | จำนวนวัน | |
วันเริ่มต้น | วันสิ้นสุด | ||||
ภาคเหนือ | |||||
กิ่วคอหมา | 209 | 170 | 9/10/2554 | 6/02/2555 | 121 |
กิ่วลม | 106 | 106 | - | - | 0 |
แควน้อยบำรุงแดน | 1080 | 939 | 14/9/2554 | 18/9/2554 | 5 |
7/10/2554 | 14/10/2554 | 8 | |||
29/10/2554 | 6/11/2554 | 9 | |||
ภูมิพล | 13462 | 13462 | - | - | 0 |
แม่กวงอุดมธารา | 295 | 263 | 29/09/2554 | 7/10/2554 | 9 |
23/11/2554 | 25/11/2554 | 3 | |||
4/12/2554 | 8/12/2554 | 5 | |||
แม่งัดสมบูรณ์ชล | 323 | 265 | 30/09/2554 | 14/10/2554 | 15 |
22/10/2554 | 25/01/2555 | 96 | |||
สิริกิติ์ | 10508 | 9510 | - | - | 0 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |||||
จุฬาภรณ์ | 181 | 164 | 30/09/2554 | 7/11/2554 | 39 |
น้ำพุง | 200 | 165 | 23/09/2554 | 22/10/2554 | 30 |
น้ำอูน | 780 | 520 | 10/09/2554 | 30/11/2554 | 82 |
มูลบน | 350 | 141 | 7/10/2554 | 18/11/2554 | 43 |
ลำแซะ | 325 | 275 | 11/10/2554 | 13/01/2555 | 95 |
ลำตะคอง | 445 | 314 | 7/10/2554 | 24/12/2554 | 79 |
ลำนางรอง | 197 | 121 | - | - | 0 |
ลำปาว | 2450 | 1980 | 23/09/2554 | 7/10/2554 | 15 |
ลำพระเพลิง | 242 | 155 | - | - | 0 |
สิรินธร | 1966 | 1966 | - | - | 0 |
ห้วยหลวง | 136 | 136 | - | - | 0 |
อุบลรัตน์ | 2431 | 2431 | 27/09/2554 | 21/11/2554 | 56 |
ภาคกลาง | |||||
กระเสียว | 390 | 299 | - | - | 0 |
ทับเสลา | 190 | 160 | 17/10/2554 | 10/11/2554 | 25 |
ป่าสักชลสิทธิ์ | 960 | 960 | 23/09/2554 | 3/12/2554 | 72 |
วชิราลงกรณ | 11000 | 8860 | - | - | 0 |
ศรีนครินทร์ | 18770 | 17745 | - | - | 0 |
ภาคตะวันออก | |||||
ขุนด่านปราการชล | 225 | 224 | - | - | 0 |
คลองสียัด | 450 | 420 | 29/09/2554 | 6/11/2554 | 39 |
บางพระ | 127 | 117 | - | - | 0 |
ประแสร์ | 322 | 295 | - | - | 0 |
หนองปลาไหล | 206 | 164 | 27/09/2554 | 10/11/2554 | 45 |
ภาคใต้ | |||||
แก่งกระจาน | 900 | 710 | - | - | 0 |
บางลาง | 1590 | 1454 | - | - | 0 |
ปราณบุรี | 490 | 391 | - | - | 0 |
รัชชประภา | 6144 | 5639 | - | - | 0 |
ทั้งนี้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นเขื่อนสำคัญที่ระบายน้ำลงสู่ภาคกลาง ปี 2554 ไม่เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเนื่องจากมีการเปิดทางน้ำล้น spillway เพื่อช่วยระบายน้ำออกจากเขื่อน ซึ่งโดยปกติแล้วทั้งสองเขื่อนนี้จะไม่ได้มีการระบายผ่าน
spillway เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงครั้งนี้ เขื่อนภูมิพลเปิดการระบายผ่าน spillway 2 ช่วง ช่วงแรกระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554 ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2554 รวมทั้งหมด 12 วัน ปริมาณน้ำระบายผ่าน
spillway รวมทั้งสิ้น 342.48 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ เปิด spillway เพื่อระบายน้ำในช่วงวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2554 รวมทั้งหมด 18 วัน ปริมาณน้ำระบาย spillway รวมทั้งสิ้น 183.84 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2554 เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมรวมกันทั้งปี 71,769 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนที่มากเป็นประวัติการณ์ โดยมีการระบายน้ำออกไปถึง 56,241 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์เช่นกัน แต่ถึงแม้จะระบายน้ำออกไปมาก ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี กลับยังคงมีเหลืออยู่ถึง 61,097 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 87% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 37,591 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายเขื่อนจะเห็นได้ว่า ยังคงมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้นอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ และเขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา และมีเขื่อนมากถึง 18 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเฉพาะภาคเหนือที่ทุกเขื่อนมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมากรวมทั้งมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้น 2 แห่ง ที่เขื่อนกิ่วคอหมาและเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากนี้ยังมีเขื่อน 10 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปี 2554 ประเทศไทยจะเผชิญกับสภาวะน้ำมากวิกฤต แต่กลับมีเขื่อนอยู่ 2 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปีอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย เขื่อนแรกคือเขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี ที่ถึงแม้จะเกิดน้ำล้นเขื่อนในช่วงเดือนตุลาคม แต่ได้มีการ
เร่งระบายน้ำออกไปมาก จึงทำให้ปริมาณกักเก็บคงเหลือลดลงอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยในช่วงสิ้นปี ต่างจากเขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเขื่อนที่มีน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปีอยู่ในเกณฑ์น้อย อาจถือได้ว่าเขื่อนนี้เป็นเขื่อนเดียวในประเทศที่ในปี 2554 มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างน้อย โดยตลอดทั้งปีมีน้ำไหลลงเขื่อนเพียง 310 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้อยหากเทียบกับข้อมูลในอดีตของเขื่อนนี้ และหากย้อนไปดูแผนที่แสดงปริมาณและการกระจายตัวของฝนของปี 2554 จะพบว่าบริเวณเขื่อนนี้และพื้นที่โดยรอบมีฝนตกค่อนข้างน้อยมากหากเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามในปีนี้ไม่มีเขื่อนใดเลยที่มีน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต รายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางด้านล่าง
เขื่อน | ความจุที่ระดับกักเก็บ (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำกักเก็บ (ล้าน ลบ.ม.) |
% ของความจุที่ระดับกักเก็บ | ปริมาณน้ำใช้การได้ (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำไหลสะสมทั้งปี (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำระบายสะสมทั้งปี (ล้าน ลบ.ม.) |
ภาคเหนือ | ||||||
กิ่วคอหมา | 170 | 187 | 110 | 181 | 491 | 474 |
กิ่วลม | 106 | 102 | 96 | 98 | 1,502 | 1,501 |
แควน้อยบำรุงแดน | 939 | 778 | 83 | 735 | 3,014 | 2,900 |
ภูมิพล | 13,462 | 12,713 | 94 | 8,913 | 12,726 | 7,874 |
แม่กวงอุดมธารา | 263 | 248 | 94 | 234 | 421 | 319 |
แม่งัดสมบูรณ์ชล | 265 | 278 | 105 | 266 | 493 | 459 |
สิริกิติ์ | 9,510 | 8,787 | 92 | 5,937 | 11,225 | 9,498 |
รวมภาคเหนือ | 24,715 | 23,093 | 93 | 16,364 | 29,871 | 23,025 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||||||
จุฬาภรณ์ | 164 | 139 | 85 | 102 | 266 | 259 |
น้ำพุง | 165 | 136 | 82 | 128 | 223 | 170 |
น้ำอูน | 520 | 457 | 88 | 412 | 630 | 424 |
มูลบน | 141 | 140 | 99 | 133 | 203 | 170 |
ลำแซะ | 275 | 281 | 102 | 274 | 304 | 235 |
ลำตะคอง | 314 | 306 | 97 | 283 | 526 | 439 |
ลำนางรอง | 121 | 98 | 81 | 95 | 69 | 24 |
ลำปาว | 1,980 | 1,570 | 79 | 1,470 | 3,304 | 2,826 |
ลำพระเพลิง | 155 | 99 | 64 | 98 | 228 | 216 |
สิรินธร | 1,966 | 1,749 | 89 | 918 | 2,140 | 1,322 |
ห้วยหลวง | 136 | 90 | 66 | 83 | 291 | 254 |
อุบลรัตน์ | 2,431 | 2,089 | 86 | 1,508 | 5,363 | 4,642 |
รวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 8,368 | 7,155 | 86 | 5,505 | 13,547 | 10,981 |
ภาคกลาง | ||||||
กระเสียว | 299 | 242 | 81 | 202 | 483 | 412 |
ทับเสลา | 160 | 77 | 48 | 60 | 181 | 184 |
ป่าสักชลสิทธิ์ | 960 | 799 | 83 | 796 | 5,010 | 4,469 |
วชิราลงกรณ | 8,860 | 6,986 | 79 | 3,974 | 7,029 | 4,336 |
ศรีนครินทร์ | 17,745 | 15,674 | 88 | 5,409 | 7,507 | 5,636 |
รวมภาคกลาง | 28,024 | 23,778 | 85 | 10,441 | 20,210 | 15,038 |
ภาคตะวันออก | ||||||
ขุนด่านปราการชล | 224 | 173 | 77 | 168 | 627 | 660 |
คลองสียัด | 420 | 327 | 78 | 297 | 382 | 121 |
บางพระ | 117 | 96 | 82 | 84 | 69 | 52 |
ประแสร์ | 295 | 223 | 76 | 203 | 420 | 332 |
หนองปลาไหล | 164 | 146 | 89 | 132 | 311 | 317 |
รวมภาคตะวันออก | 1,220 | 964 | 79 | 883 | 1,810 | 1,482 |
ภาคใต้ | ||||||
แก่งกระจาน | 710 | 505 | 71 | 440 | 899 | 625 |
บางลาง | 1,454 | 972 | 67 | 696 | 1,803 | 1,993 |
ปราณบุรี | 391 | 170 | 43 | 152 | 310 | 219 |
รัชชประภา | 5,639 | 4,461 | 79 | 3,110 | 3,520 | 2,879 |
รวมภาคใต้ | 8,194 | 6,108 | 75 | 4,397 | 6,532 | 5,716 |
รวมทั้งประเทศ | 70,521 | 61,097 | 87 | 37,591 | 71,969 | 56,241 |