มีนาคม
ปีนี้มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของ
ประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ
ประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ
26 มิถุนายน
พายุโซนร้อน "ไหหม่า" (HAIMA) สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเคลื่อนเข้าไทยบริเวณจังหวัดน่าน
28 กรกฎาคม
พายุโซนร้อน "ไห่ถาง" (HAITANG) สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
31 กรกฎาคม
พายุไต้ฝุ่น "นกเต็น" (NOCK-TEN) เคลื่อนเข้าไทยบริเวณจังหวัดน่านในขณะที่เป็นพายุดีเปรสชัน ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ
25 สิงหาคม
เขื่อนสิริกิติ์เริ่มเปิด spillway เพื่อระบายน้ำ
รวมระบาย 18 วัน ปริมาณน้ำระบายผ่าน spillway ทั้งหมด 183.84 ล้านลูกบาศก์เมตร
รวมระบาย 18 วัน ปริมาณน้ำระบายผ่าน spillway ทั้งหมด 183.84 ล้านลูกบาศก์เมตร
10 กันยายน
น้ำเริ่มล้นเขื่อนน้ำอูน และล้นไปถึงสิ้นเดือนกันยายน
23 กันยายน
น้ำเริ่มล้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และล้นไปจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2554 รวมระยะเวลาถึง 72 วัน
29 กันยายน
ปตร.บางโฉมศรีพังทลาย
30 กันยายน
พายุไต้ฝุ่น "เนสาด" (NESAT) สลายตัวไปบริเวณเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากขึ้น
5 ตุลาคม
น้ำท่วมนิคมสหรัตนคร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
5 ตุลาคม
พายุไต้ฝุ่น "นาลแก" (NALGAE) สลายตัวไปบริเวณเมืองวิญ ประเทศเวียดนาม ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนตกมากขึ้น
5 ตุลาคม
เขื่อนภูมิพลเริ่มเปิด spillway เพื่อระบายน้ำออกจากเขื่อน โดยเปิด 2 ช่วง (5-13,18-20 ตุลาคม 2554 รวมทั้งหมด 12 วัน ปริมาณน้ำระบายรวมทั้งสิ้น 342.48 ล้านลูกบาศก์เมตร
7 ตุลาคม
รัฐบาลตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) มีศูนย์บัญชาการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง
8 ตุลาคม
น้ำเริ่มทะลักคันกั้นน้ำเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรม
โรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา วันต่อมาเข้าท่วมโรงงานทั้ง 198 แห่ง /น้ำท่วมซอยพระเงิน จ.ปทุมธานี, ถ.ชัยพฤกษ์ – พระราม ๔ และ ถ.อ่อนนุช ช่วงลาดกระบัง
โรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา วันต่อมาเข้าท่วมโรงงานทั้ง 198 แห่ง /น้ำท่วมซอยพระเงิน จ.ปทุมธานี, ถ.ชัยพฤกษ์ – พระราม ๔ และ ถ.อ่อนนุช ช่วงลาดกระบัง
14 ตุลาคม
น้ำท่วมหมู่บ้านบัวทองเคหะ จ.นนทบุรี
17 ตุลาคม
น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี และนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี
22 ตุลาคม
คันดินกั้นน้ำแยกบางกระบือแตก ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อเข้าท่วม ถ. สามเสน กรุงเทพฯ / น้ำท่วม ถ.บางกรวย -ไทรน้อย จ.นนทบุรี ตลอดทั้งสาย และเข้าท่วมหมู่บ้านเมืองเอก จ. ปทุมธานี
24 ตุลาคม
น้ำท่วมสนามบินดอนเมือง ถ.วิภาวดีรังสิต ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง เขตบางเขน บางพลัดและสายไหม / น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วม ถ. จรัญสนิทวงศ์ ส่วนเขตพระนคร น้ำท่วมขังบริเวณท่าพระจันทร์และท่าช้าง