พายุที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยในปี 2554
ที่มา : National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA)/Joint Typhoon Warning Center (JTWC)

พายุเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 โดยในปีนี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากพายุทั้งหมด 5 ลูก ประกอบด้วย 1) พายุโซนร้อน "ไหหม่า" (HAIMA) 2) พายุโซนร้อน "นกเต็น" (NOCK-TEN) 3) พายุโซนร้อน "ไห่ถาง" (HAITANG) 4) พายุไต้ฝุ่น “เนสาด” (NESAT) และ 5) พายุไต้ฝุ่น “นาลแก” (NALGAE) โดยพื้นที่ภาคเหนือเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากพายุมากสุด เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายน ที่อิทธิพลของพายุโซนร้อน "ไหหม่า" ส่งผลทำให้มีฝนตกมากทางตอนบนของภาคเหนือและทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก

ถัดมาในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม น้ำในพื้นที่ภาคเหนือยังไม่ทันระบายได้หมด

ได้มีพายุ “นกเต็น” เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือ ทำให้เกิดฝนตกหนักมากในบริเวณเดิม และทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอีก ต่อมาในช่วงปลายเดือนกันยายน พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” ได้ส่งอิทธิพลทำให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำโขงที่มีฝนตกค่อนข้างมาก

ต่อด้วยช่วงต้นเดือนตุลาคม ที่มีพายุถึง 2 ลูก ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ลูกแรกคือพายุไต้ฝุ่น “เนสาด” ที่ส่งผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคเหนือต่อเนื่องจากพายุ “ไห่ถาง” ต่อด้วยพายุไต้ฝุ่นนาลแก ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตก

เฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและทำให้มีฝนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2554

ทั้งนี้ จากพายุทั้ง 5 ลูกที่กล่าวมาข้างต้น มีเพียงพายุโซนร้อน “นกเต็น” เท่านั้น ที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในขณะที่ลดระดับลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว ส่วนพายุโซนร้อน “ไหหม่า” และพายุโซนร้อน “ไห่ถาง” ได้สลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนพายุไต้ฝุ่น “เนสาด” และพายุไต้ฝุ่น “นาลแก” ถึงแม้จะสลายตัวไปในบริเวณประเทศเวียดนามแต่อิทธิพลของพายุยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น

แผนที่เส้นทางพายุ 5 ลูก ที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยในปี 2554



ตารางแสดงช่วงเวลาที่เกิดพายุแต่ละลูก



ตารางสรุปพายุ 5 ลูก ที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยในปี 2554


พายุโซนร้อน “ไหหม่า” (HAIMA)

พายุ “ไหหม่า” ได้เริ่มก่อตัวขึ้นในบริเวณทะเลจีนใต้ใกล้กับชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 และได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นไปผ่านตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 หลังจากนั้นได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2554 ก่อนเคลื่อนลงอ่าวตังเกี๋ย และ

เคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนบนของประเทศเวียดนามในช่วงค่ำของวันที่ 24 มิถุนายน 2554 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ในขณะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาว และได้สลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเคลื่อนเข้าภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่าน และสลายตัวไปในในบริเวณภาคเหนือเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน

2554 อิทธิพลของพายุทำให้มีฝนตกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้างในภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และตาก มีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในช่วงวันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2554 ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง

ภาพถ่ายดาวเทียมและเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุไหหม่า
แผนภาพแสดงปริมาณและการกระจายตัวของฝนในช่วงที่เกิดพายุไหหม่า

(ซ้าย) แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 23-27 มิถุนายน 2554 
(ขวา) แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 23-27 มิถุนายน 2554

ชื่อพายุ : ไหหม่า (HAIMA)
รหัสพายุ : 06W
แหล่งข้อมูล : JTWC (https://www.metoc.navy.mil/jtwc/jtwc.html?western-pacific)
DateTime latitude  longitude  Wind Speed (Kt)
16/06/2011 06:00 7.9 129 15
16/06/2011 12:00 8.6 129.3 20
16/06/2011 18:00 9.1 129.6 25
17/06/2011 00:00 10 129.1 25
17/06/2011 06:00 10.9 128.5 25
17/06/2011 12:00 11.8 127.5 25
17/06/2011 18:00 12.6 126.8 25
18/06/2011 00:00 13.6 126.4 25
18/06/2011 06:00 14.3 125.7 25
18/06/2011 12:00 15.1 125.1 25
18/06/2011 18:00 16 124.6 25
19/06/2011 00:00 16.9 124.3 25
19/06/2011 06:00 17.7 123.4 25
19/06/2011 12:00 18.8 122.7 25
19/06/2011 18:00 19.6 121.5 25
20/06/2011 00:00 20.2 120.1 25
20/06/2011 06:00 20.5 118.7 20
20/06/2011 12:00 20.4 117.7 20
20/06/2011 18:00 19.6 117.6 25
21/06/2011 00:00 19.4 116.3 25
21/06/2011 06:00 18.9 115.3 25
21/06/2011 12:00 18.5 114.4 30
21/06/2011 18:00 19.3 113.8 25
22/06/2011 00:00 19.9 113.4 30
22/06/2011 06:00 20.3 113.1 30
22/06/2011 12:00 20.7 113.5 30
22/06/2011 18:00 21 112.7 30
23/06/2011 00:00 21.3 111.9 35
23/06/2011 06:00 21.4 111 35
23/06/2011 12:00 21.4 109.9 35
23/06/2011 18:00 20.9 108.8 35
24/06/2011 00:00 20.6 108 35
24/06/2011 06:00 20.3 107.1 35
24/06/2011 12:00 20.1 106.2 35
24/06/2011 18:00 20.1 105.1 30
25/06/2011 00:00 19.8 104.3 25
25/06/2011 06:00 19.5 103.5 25
25/06/2011 12:00 19.2 102.9 25
25/06/2011 18:00 18.9 101.8 20


พายุโซนร้อน “นกเต็น" (NOCK-TEN)

พายุโซนร้อน “นกเต็น” เป็นพายุลูกเดียวที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในปี 2554 พายุลูกนี้ได้เริ่มก่อตัวขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 และทวีกำลังขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะฝันตกเฉียงเหนือเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 และทวีกำลังแรง

ขึ้นต่อเนื่องเป็นพายุไต้ฝุ่น ระดับ 1 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ก่อนลดระดังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันเดียวกันแล้วเคลื่อนผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ แล้วเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2554 และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามในวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 จากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวพร้อมกับ

อ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันเดียวกัน แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่อนสอน ก่อนที่จะสลายตัวไป

ภาพถ่ายดาวเทียมและเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุนกเต็น
แผนภาพแสดงปริมาณและการกระจายตัวของฝนในช่วงที่เกิดพายุนกเต็น

(ซ้าย) แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม 2554 
(ขวา) แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม 2554


ชื่อพายุ : นกเต็น (NOCK-TEN)
รหัสพายุ : 10W
แหล่งข้อมูล : JTWC (https://www.metoc.navy.mil/jtwc/jtwc.html?western-pacific)
DateTime latitude  longitude  Wind Speed (Kt)
24/07/2011 00:00 12.3 129.5 20
24/07/2011 06:00 12.4 129 20
24/07/2011 12:00 12.4 128.4 20
24/07/2011 18:00 12.7 127.9 25
25/07/2011 00:00 13.3 127.3 25
25/07/2011 06:00 13.5 126.4 30
25/07/2011 12:00 13.8 125.5 30
25/07/2011 18:00 14 124.7 30
26/07/2011 00:00 14.1 124.1 35
26/07/2011 06:00 14.3 123.6 40
26/07/2011 12:00 14.7 123.1 45
26/07/2011 18:00 15.1 122.7 50
26/07/2011 18:00 15.1 122.7 50
27/07/2011 00:00 15.6 122.2 65
27/07/2011 00:00 15.6 122.2 65
27/07/2011 06:00 16.5 121.5 55
27/07/2011 06:00 16.5 121.5 55
27/07/2011 12:00 17.5 119.7 50
27/07/2011 18:00 18.1 118 50
28/07/2011 00:00 17.8 116.5 50
28/07/2011 06:00 17.8 115.4 55
28/07/2011 12:00 17.9 114.4 55
28/07/2011 12:00 17.9 114.4 55
28/07/2011 18:00 17.9 113.4 55
28/07/2011 18:00 17.9 113.4 55
29/07/2011 00:00 18.2 112.4 50
29/07/2011 00:00 18.2 112.4 50
29/07/2011 06:00 18.8 111.4 45
29/07/2011 12:00 19.6 110.6 40
29/07/2011 18:00 19.7 109.2 40
30/07/2011 00:00 19.8 108 45
30/07/2011 06:00 19.6 106.8 40
30/07/2011 12:00 19.1 105.5 35



พายุโซนร้อน “ไห่ถาง" (HAITANG)

พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” เป็นพายุลูกเดียวใน 5 ลูก ที่ก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 และได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก ก่อนที่จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 25 กรกฎาคม

2554 แล้วเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตก แล้วลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณ เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน

พร้อมเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาว ก่อนสลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันที่ 28 กรกฎาคม 2554

ภาพถ่ายดาวเทียมและเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุไห่ถาง

(ซ้าย) แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554 
(ขวา) แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554

ชื่อพายุ : ไห่ถาง (HAITANG)
รหัสพายุ : 21W
แหล่งข้อมูล : JTWC (https://www.metoc.navy.mil/jtwc/jtwc.html?western-pacific)
DateTime latitude  longitude  Wind Speed (Kt)
24/09/2011 00:00 15.6 111 15
24/09/2011 06:00 15.1 111.3 25
24/09/2011 12:00 15.2 112.1 25
24/09/2011 18:00 15.6 112.9 25
25/09/2011 00:00 16.6 113 25
25/09/2011 06:00 17.2 112.5 35
25/09/2011 12:00 16.9 112.1 35
25/09/2011 18:00 16.8 111.7 35
26/09/2011 00:00 16.7 111.3 30
26/09/2011 06:00 16.6 110.8 30
26/09/2011 12:00 16.3 109.9 30
26/09/2011 18:00 16.4 108.9 25
27/09/2011 00:00 16.7 108 20
27/09/2011 06:00 16.5 106.4 20

 

 

พายุไต้ฝุ่น “เนสาด" (NESAT)

พายุไต้ฝุ่น “เนสาด” ได้ก่อตัวขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 แล้วเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันเดียวกัน หลังจากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นต่อเนื่องเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับที่ 1 ถึงระดับ 4 ในช่วงวันที่ 25-26 กันยายน 2554 ก่อนที่ลดระดับลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับที่ 2 อีกครั้งในวันที่ 27 กันยายน 2554 พร้อมเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลลิปปินส์ ก่อน

เคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ในวันเดียวกันและได้ลดระดับลงเป็นพายุใต้ฝุ่นระดับที่ 1 และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 29 กันยายน 2554 หลังจากนั้นได้ลดระดับลงเป็นพายุโซนร้อนก่อนเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยในวันเดียวกัน และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองฮานอยประเทศเวียดนามในวันที่ 30 กันยายน 2554 ในขณะที่ยังเป็นพายุโซนร้อน และหลังจากนั้นได้ลดระดับลงเป็นพายุดีเปรสชัน

ในวันเดียวกันขณะที่ยังเคลื่อนตัวอยู่บริเวณเมืองฮานอย และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเวลาต่อมา พายุลูกนี้ส่งผลทำให้ด้านตะวันออกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม

ภาพถ่ายดาวเทียมและเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุเนสาด

(ซ้าย) แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 29 กันยายน ถึง 3 ตุลาคม 2554
(ขวา) แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 29 กันยายน ถึง 3 ตุลาคม 2554


ชื่อพายุ : เนสาด (NESAT)
รหัสพายุ : 20W
แหล่งข้อมูล : JTWC (https://www.metoc.navy.mil/jtwc/jtwc.html?western-pacific)
DateTime latitude  longitude  Wind Speed (Kt)
23/09/2011 00:00 13 139.5 15
23/09/2011 06:00 13.2 138.8 20
23/09/2011 12:00 13.7 138.1 30
23/09/2011 18:00 13.9 137.3 35
24/09/2011 00:00 14.3 136.3 40
24/09/2011 06:00 15 135.1 45
24/09/2011 12:00 15 133.4 50
24/09/2011 18:00 14.7 131.8 55
24/09/2011 18:00 14.7 131.8 55
25/09/2011 00:00 14.6 130.4 60
25/09/2011 00:00 14.6 130.4 60
25/09/2011 06:00 14.6 129.2 65
25/09/2011 06:00 14.6 129.2 65
25/09/2011 06:00 14.6 129.2 65
25/09/2011 12:00 14.7 128.1 65
25/09/2011 12:00 14.7 128.1 65
25/09/2011 12:00 14.7 128.1 65
25/09/2011 18:00 14.8 127 75
25/09/2011 18:00 14.8 127 75
25/09/2011 18:00 14.8 127 75
26/09/2011 00:00 15.3 126 80
26/09/2011 00:00 15.3 126 80
26/09/2011 00:00 15.3 126 80
26/09/2011 06:00 15.6 124.9 85
26/09/2011 06:00 15.6 124.9 85
26/09/2011 06:00 15.6 124.9 85
26/09/2011 12:00 15.8 124 90
26/09/2011 12:00 15.8 124 90
26/09/2011 12:00 15.8 124 90
26/09/2011 18:00 16.1 123.1 115
26/09/2011 18:00 16.1 123.1 115
26/09/2011 18:00 16.1 123.1 115
27/09/2011 00:00 16.4 121.8 90
27/09/2011 00:00 16.4 121.8 90
27/09/2011 00:00 16.4 121.8 90
27/09/2011 06:00 16.7 120.3 90
27/09/2011 06:00 16.7 120.3 90
27/09/2011 06:00 16.7 120.3 90
27/09/2011 12:00 16.8 119.1 80
27/09/2011 12:00 16.8 119.1 80
27/09/2011 12:00 16.8 119.1 80
27/09/2011 18:00 17.2 117.9 75
27/09/2011 18:00 17.2 117.9 75
27/09/2011 18:00 17.2 117.9 75
28/09/2011 00:00 17.4 116.7 70
28/09/2011 00:00 17.4 116.7 70
28/09/2011 00:00 17.4 116.7 70
28/09/2011 06:00 17.7 115.9 65
28/09/2011 06:00 17.7 115.9 65
28/09/2011 06:00 17.7 115.9 65
28/09/2011 12:00 18.1 115 65
28/09/2011 12:00 18.1 115 65
28/09/2011 18:00 18.8 113.8 65
28/09/2011 18:00 18.8 113.8 65
29/09/2011 00:00 19.4 112.5 65
29/09/2011 00:00 19.4 112.5 65
29/09/2011 06:00 19.9 111.2 65
29/09/2011 06:00 19.9 111.2 65
29/09/2011 12:00 20.2 110.1 60
29/09/2011 12:00 20.2 110.1 60
29/09/2011 18:00 20.6 108.9 60
29/09/2011 18:00 20.6 108.9 60
30/09/2011 00:00 20.8 107.8 60
30/09/2011 00:00 20.8 107.8 60
30/09/2011 06:00 21 106.7 50
30/09/2011 06:00 21 106.7 50
30/09/2011 12:00 21.1 106.2 35
30/09/2011 18:00 21.3 105.7 20





พายุไต้ฝุ่น “นาลแก" (NALGAE)

พายุไต้ฝุ่น “นาลแก” ได้ก่อตัวขึ้นที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 หลังจากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 27 กันยายน 2554 พายุลูกนี้ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่องแล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้นฝุ่นระดับที่ 1-4 ในช่วงวันที่ 29 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2554 ก่อนที่จะลดระดับลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในวันที่ 1

ตุลาคม 2554 แล้วเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมลดระดับลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ในวันเดียวกัน ก่อนเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ แล้วลดระดับลงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 2 ตุลาคม 2554 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่องผ่านเกาะไหหลำในวันที่ 4 ตุลาคม 2554 แล้วลดระดับลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนตัวลงอ่าวตังเกี๋ยในวัน

เดียวกัน หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองวิญ ประเทศเวียดนามในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 แล้วสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเวลาต่อมา อิทธิพลของพายุลูกนี้ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย

ภาพถ่ายดาวเทียมและเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุนาลแก

(ซ้าย) แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2554 
(ขวา) แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2554


ชื่อพายุ : นาลแก (NALGAE)
รหัสพายุ : 22W
แหล่งข้อมูล : JTWC (https://www.metoc.navy.mil/jtwc/jtwc.html?western-pacific)
DateTime latitude  longitude  Wind Speed (Kt)
26/09/2011 12:00 18.1 138.5 20
26/09/2011 18:00 18.4 138.2 20
27/09/2011 00:00 18.7 137.9 25
27/09/2011 06:00 18.9 137.5 30
27/09/2011 12:00 19 137.1 30
27/09/2011 18:00 19 136.9 35
28/09/2011 00:00 19 136.7 40
28/09/2011 06:00 18.9 136.3 45
28/09/2011 12:00 18.6 135.7 50
28/09/2011 12:00 18.6 135.7 50
28/09/2011 18:00 18.4 135.1 55
28/09/2011 18:00 18.4 135.1 55
29/09/2011 00:00 18.2 134.1 65
29/09/2011 00:00 18.2 134.1 65
29/09/2011 06:00 18 133 65
29/09/2011 06:00 18 133 65
29/09/2011 12:00 17.8 131.7 75
29/09/2011 12:00 17.8 131.7 75
29/09/2011 18:00 17.7 130.3 80
29/09/2011 18:00 17.7 130.3 80
29/09/2011 18:00 17.7 130.3 80
30/09/2011 00:00 17.7 128.9 90
30/09/2011 00:00 17.7 128.9 90
30/09/2011 00:00 17.7 128.9 90
30/09/2011 06:00 17.7 127.4 100
30/09/2011 06:00 17.7 127.4 100
30/09/2011 06:00 17.7 127.4 100
30/09/2011 12:00 17.5 125.7 115
30/09/2011 12:00 17.5 125.7 115
30/09/2011 12:00 17.5 125.7 115
30/09/2011 18:00 16.9 124.1 115
30/09/2011 18:00 16.9 124.1 115
30/09/2011 18:00 16.9 124.1 115
01/10/2011 00:00 16.6 122.7 130
01/10/2011 00:00 16.6 122.7 130
01/10/2011 00:00 16.6 122.7 130
01/10/2011 06:00 16.5 121.2 100
01/10/2011 06:00 16.5 121.2 100
01/10/2011 06:00 16.5 121.2 100
01/10/2011 12:00 16.3 119.6 80
01/10/2011 12:00 16.3 119.6 80
01/10/2011 12:00 16.3 119.6 80
01/10/2011 18:00 16.4 119.1 65
01/10/2011 18:00 16.4 119.1 65
01/10/2011 18:00 16.4 119.1 65
02/10/2011 00:00 17 118.3 55
02/10/2011 00:00 17 118.3 55
02/10/2011 06:00 17.3 117.2 50
02/10/2011 12:00 17.6 116.2 50
02/10/2011 12:00 17.6 116.2 50
02/10/2011 18:00 17.7 115.3 50
03/10/2011 00:00 17.7 114.3 50
03/10/2011 06:00 17.7 113.7 50
03/10/2011 12:00 17.7 113.1 45
03/10/2011 18:00 18.1 112.2 45
04/10/2011 00:00 18.2 111.2 40
04/10/2011 06:00 18.7 110 35
04/10/2011 12:00 18.8 109 30
04/10/2011 18:00 18.6 108.6 30
05/10/2011 00:00 18.3 108.3 30
05/10/2011 06:00 18 108.1 20