ปริมาณและการกระจายตัวของฝน
ที่มา : คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ

การกระจายตัวของฝน ปี 2554 และความผิดปกติของฝนเมื่อเทียบกับค่าปกติ

ปี 2554 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,826 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 363 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 25% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตก

มากกว่าปกติ โดยมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่ ยกเว้นทางด้านตะวันตกของภาคกลาง เชื่อมต่อกับ

พื้นที่ตอนบนของภาคใต้ บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ปี 2554 มีฝนตกมากกว่าปกติในทุกภาค โดยทุกภาคมีฝนตกมากกว่าปกติเกิน 10% โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกมากถึงกว่าปกติถึง 41% หรือมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ รองลงมาคือภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 27% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 20% รายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

ภาคเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,740 มิลลิเมตร มากกกว่าปกติ 41% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่ของภาค โดยทางตอนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์มีฝนตกน้อยกว่าพื้นที่อื่น ๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,663 มิลลิเมต ร มากกกว่าปกติ 20% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่ของภาค โดยบริเวณตอนกลางและด้านฝั่งตะวันตกตอนล่างของภาคมีฝนตกน้อยกว่าพื้นที่อื่น ๆ

ภาคกลาง มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,416 มิลลิเมตร มากกกว่าปกติ 16% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค แต่ทางด้านตะวันตกมีฝนตกน้อยกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดราชบุรีที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติในหลายพื้นที่

ภาคตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,055 มิลลิเมต ร มากกกว่าปกติ 11% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นในหลายพื้นที่เกือบทั่วทั้งภาค ยกเว้นบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้วที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,503 มิลลิเมตร มากกกว่าปกติ 27% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยมีบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและสงขลาที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ ทั้งนี้ทางตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,783 มิลลิเมตร มากกกว่าปกติ 10% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่ของภาคยกเว้นบริเวณจังหวัดกระบี่ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติในหลายพื้นที่ของจังหวัด

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ปี 2554 ประเทศไทยมีฝนตกน้อยกว่าปกติ 25%
ภาค ปริมาณฝนปี 2554 ปริมาณฝนที่ต่างจากปกติ
มิลลิเมตร เปอร์เซ็นต์
เหนือ              1,740             508            41
ตะวันออกเฉียงเหนือ              1,663             279            20
กลาง              1,416             197            16
ตะวันออก              2,055             208            11
ใต้ฝั่งตะวันออก              2,503             533            27
ใต้ฝั่งตะวันตก              2,783             248            10
ทั้งประเทศ 1,826             363            25



ปริมาณและการกระจายตัวของฝนปี 2554 เทียบกับปีที่เกิดอุทกภัยรุนแรงในอดีต

ปี 2554 เป็นปีที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเกือบทุกเดือน มีเพียงเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤศจิกายนเท่านั้นที่ฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่ก็น้อยกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน ที่มีฝนตกถึง 312 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนสิงหาคมและเดือนกรกฎาคม ที่มีฝนตก 290 และ 244 มิลลิเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าเริ่มมีฝนตกค่อนข้างมากตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งแม้เดือนมีนาคมจะไม่ใช่เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดของปี 2554 และเป็นเดือนที่มีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด โดยมีฝนตกมากกว่าปกติถึง 103 มิลลิเมตร ซึ่ง 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้มีฝนตกค่อนข้างมากคือพายุทั้ง 5 ลูกที่ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและ

ตุลาคม ส่วนอีกหนึ่งปัจจัยคือร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยอย่างบ่อยครั้งมากตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมและกันยายนที่อิทธิพลของร่องมรสุมส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักโดยที่ปริมาณฝนมากกว่าในช่วงที่เกิดพายุ

หากเทียบปริมาณฝนของปี 2554 กับปีที่เกิดอุทกภัยรุนแรงในอดีต ไม่ว่าจะเป็นปี 2538 2545 หรือ 2549 จะเห็นได้ว่า ปี 2554 มีปริมาณฝนรวมทั้งปีมากกว่าปีอื่น ๆ ค่อนข้างมาก และกลุ่มฝนตกหนักมีการกระจายตัวอยู่ในทุกภาคมากกว่าปีอื่น โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกหนักกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างเกือบทุกพื้นที่ของภาค ซึ่ง

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุทกภัยรุนแรงในครั้งนี้ ด้วยว่าน้ำจากภาคเหนือส่วนใหญ่จะไหลลงสู่ภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ เกิดน้ำท่วมขังได้ง่ายกว่าพื้นที่อื่น นอกจากนี้ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีฝนมากกว่าปีอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน

และหากพิจารณาปริมาณฝนเป็นรายเดือนจะพบว่าเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม มิถุนายนและกันยายน ของปี 2554 มีฝนตกมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยเดือนมกราคมภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปีอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด รวมถึงเดือนมีนาคมที่ภาคใต้และตอนบนของประเทศมีฝนตกมากอย่างผิดปกติ



กราฟแสดงปริมาณฝนรายเดือน
หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


กราฟแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนตลอดปี 2554 และปัจจัยที่ทำให้เกิดฝนตกหนัก


แผนที่แสดงปริมาณและการกระจายตัวของฝนรวมทั้งปีของปี 2554 เทียบกับฝนรายเดือนของปีที่เกิดอุทกภัยรุนแรงในอดีต



แผนที่แสดงปริมาณและการกระจายตัวของฝนรายเดือนของปี 2554 เทียบกับฝนรายเดือนของปีที่เกิดอุทกภัยรุนแรงในอดีต